วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

CPN เล็งเข้าตลาดหุ้นสิงคโปร์ ขึ้นโมเดลแฮงเอาต์หมื่นตร.ม.


24 มี.ค. 2556 เวลา 09:17:12 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เซ็นทรัล พัฒนาเตรียมแผนงานเติบโตปี 2015-2020 เล็งแต่งตัวตั้งกองทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์หวังระดมทุนขยายสาขาต่าง ประเทศ พร้อมปรับพื้นที่ลานด้านหน้าออฟฟิศเซ็นทรัลเวิลด์ ขึ้นโปรเจ็กต์ใหม่ "แฮงเอาต์" เพิ่มพื้นที่รีเทล 1 หมื่น ตร.ม.ตอกย้ำไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ ดีเดย์พร้อมอวดโฉมปลายปี

น.ส.นภา รัตน์ ศรีวรรณวิทย์ รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการเงิน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น กล่าวถึงทิศทางธุรกิจว่า ยังคงเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ 2015 ด้วยการเติบโต 15% และเปิดสาขาใหม่ปีละ 2-3 สาขาต่อเนื่องด้วยงบฯลงทุนเฉลี่ย 1-1.3 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยตอนนี้อยู่ในช่วงของการเตรียมยุทธศาสตร์ของอีก 5 ปีข้างหน้า (2016-2020) ไม่เพียงทิศทางการระดมเงินลงทุนในประเทศด้วยการเพิ่มทุนและตั้งกองทุนจาก สาขาในประเทศ แต่ยังรวมถึงการลงทุนในสาขาต่างประเทศ ซึ่งเซ็นทรัลพัฒนามีความสนใจที่จะเข้าไปตั้งกองทุนที่สิงคโปร์ เพื่อระดมทุนรองรับการลงทุนและขยายธุรกิจของซีพีเอ็นในตลาดต่างประเทศใน อนาคต

ทั้งนี้ การขยายธุรกิจในตลาดต่างประเทศจะให้ความสำคัญที่ภูมิภาคอาเซียน โดยเริ่มใน 3 ประเทศหลักที่ให้ความสนใจ คือมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งความคืบหน้าการเข้าไปลงทุนในมาเลเซียหลังการเซ็นเอ็มโอยูกับพาร์ตเนอร์ ท้องถิ่น (ไอ-เบอฮาร์ด) ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการเจรจาเพื่อเข้ากระบวนการร่วมทุนและหาข้อสรุปสัดส่วน การถือหุ้น การบริหารจัดการและเงินลงทุนว่าจะเป็นอย่างไร จะเห็นข้อสรุปชัดเจนภายในปีนี้

ส่วนการลงทุนในตลาดเวียดนามและ อินโดนีเซียยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาตลาด ยังไม่ได้มีการเซ็นสัญญา คาดว่าน่าจะเป็นปีหน้าหรือปีถัดไปที่จะเห็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทุนในตลาดเมืองจีนยังคงมอนิเตอร์ดูจังหวะและโอกาสการลงทุนต่อไป เรื่อย ๆ แต่คงไม่ได้เป็นตัวหลักในการขยายตลาดต่างประเทศของเซ็นทรัลพัฒนา นอกจากนี้ได้เตรียมนำศูนย์การค้าสาขาเชียงใหม่และสาขารามอินทราเข้ากองทุนซี พีเอ็นอาร์เอฟภายในปีนี้ สำหรับกรณีที่ดินสวนลุมยังไม่อยากจะแสดงความเห็นอะไร รอให้ผู้ใหญ่มาชี้แจง แต่ที่บริษัทพอจะบอกได้ คือเซ็นทรัลไม่ได้เป็นคนบอกยกเลิกพื้นที่สวนลุม

"เรา ขอคุยกับทางสำนักทรัพย์สินฯก่อน ขอไปหารือกันอีกที ว่าจะเอาอย่างไร และไปกันอย่างไรต่อ เราสนใจที่จะเข้าชิง เพราะเดิมเราก็ได้อยู่แล้ว ส่วนจะไปในวิธีไหน ก็คงต้องมาว่ากันอีกที ส่วนในเรื่องของความพร้อมด้านเงินลงทุน เรามีพอ รวมถึงมีแผนเรื่องการเพิ่มทุนไว้ มีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเงินก็คงไม่ได้เป็นปัจจัย"

นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนาได้เริ่มปรับพื้นที่ลานด้านหน้าสำนักงานออฟฟิศเซ็นทรัลเวิลด์ (ตรงข้ามสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เพื่อเตรียมการก่อสร้างโครงการใหม่ส่วนต่อขยายเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งจะมีพื้นที่ขายเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 หมื่น ตร.ม. ด้วยการเพิ่มร้านอาหารกับแฟชั่น เพิ่มความหลากหลายและทางเลือกให้กับตลาด ซึ่งจะพร้อมเปิดให้บริการปลายปีนี้ เช่นเดียวกับการปรับรูปแบบการเช่าพื้นที่ใหม่ด้วยการลดสัดส่วนพื้นที่เช่า ระยะยาวลงและเพิ่มสัดส่วนการเช่าระยะสั้น 3 ปี แทน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารและจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพของ ตลาด

การขึ้นโปรเจ็กต์ 1 หมื่น ตร.ม. ส่วนต่อขยายเซ็นทรัลเวิลด์ดังกล่าว สอดคล้องกับแหล่งข่าว 1 ในรายที่เข้าร่วมเช่าพื้นที่โครงการนี้ขยายความว่า เซ็นทรัลพัฒนาต้องการจะพัฒนาโครงการนี้รองรับกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้า เป็นแหล่งนัดพบ พูดคุย แหล่ง "แฮงเอาต์" หลังเวลาเลิกงานของคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน และวัยรุ่น โดยรวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขนม แบรนด์แฟชั่นที่กำลังฮอตและเป็นที่นิยมทั้งในระดับโลกและในประเทศ รวมถึงแบรนด์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมาเปิดในเมืองไทยเข้ามารวมอยู่ตรงนี้

***เลื่อนงานแถลงข่าว*** เซ็นทรัลพัฒนา จัดงานแถลงข่าว “การประกาศการลงทุนครั้งสำคัญของซีพีเอ็น”


ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556
กรุงเทพฯ เซ็นทรัลพัฒนา

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนร่วม “ก้าวไปข้างหน้ากับซีพีเอ็น” ในการประกาศการลงทุนครั้งสำคัญล่าสุด เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตลาดรีเทลของประเทศไทย ซึ่งในงาน คุณวัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง ของ ซีพีเอ็น จะเป็นผู้ให้ข้อมูล ในวันพุธที่ 27 มีนาคม 2556 

เวลา 10.00-12.00 น. ณ CentralWorld Live ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ 
ตามกำหนดการดังนี้
 
10.30 น.           ลงทะเบียนสื่อมวลชน
11.00 น.           เริ่มงานแถลงข่าว
คุณวัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง
บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
11.45 น.           ผู้บริหารตอบข้อซักถามสื่อมวลชน
ถ่ายภาพหมู่ผู้บริหาร
11.50 น.           จบงาน

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

คุณวัลยา จิราธิวัฒน์ หญิงเก่งของ CPN


คุณวัลยา จิราธิวัฒน์

วัลยาเป็นลูกสาวคนที่ 21 ของเตียง จิราธิวัฒน์ ที่เกิดกับวิภา ภรรยาคนที่ 3 เป็นเจนเนอเรชั่น 2 ตอนปลาย ที่ผูกพันใกล้ชิดกับเจนเนอเรชั่น 3 ช่วงต้น อย่างกอบชัย จิราธิวัฒน์ ทศ จิราธิวัฒน์ และยุวดี พิจารณ์จิตร ซึ่งกำลังถ่ายทอดให้กับรุ่นที่ 3

 Education
-2547 อบรมหลักสูตรด้านการบริหารขั้นสูงสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ
-2528 ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์ทฟอร์ด สหรัฐฯ
-2527 ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลลิส (UCLA)
 

Career Highlights
-2556 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง ของ ซีพีเอ็น

-2548-ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
-2541-2547รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
-2539-2541 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต
-2531-2539 กรรมการผู้จัดการ เซ็นทรัล ซูเปอร์มาร์เก็ต
2528-2539 รองผู้อำนวยการ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
 

Family บิดา-มารดา เตียง-วิภา จิราธิวัฒน์ 

เธอให้สัมภาษณ์ ถึงแนวคิดในการทำงาน รวมถึงชีวิตส่วนตัวของเธอ ในฐานะมืออาชีพที่สั่งสมความรู้และประสบการณ์มาอย่างเคี่ยวกรำ น่าสนใจยิ่งนัก 

หลังคว้าปริญญาโท MBA จากสหรัฐฯ เธอเริ่มงานทันทีในวันแรกที่บินกลับมาถึงเมืองไทย ตามคำบอกของสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ พี่ชายคนโตของตระกูล กับตำแหน่งผู้จัดการซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาสีลม

“ต้องขอบคุณพี่สัมฤทธิ์มากที่ทำให้เราได้เรียนรู้ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือได้ว่าไดนามิกมากๆ โวลุ่มการขายสูงมาก แต่กำไรก็ต่ำ เป็นงานจุกจิก ที่ต้องอาศัยการตัดสินใจที่เด็ดขาด ฉับไว

เธอ ยอมรับว่า ความรู้สึกแรกที่ได้ทำไม่ดีนัก เพราะเรียนจบถึง MBA แต่ต้องมาทำซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ในที่สุดเธอก็ทุ่มเทให้กับการทำงาน เปลี่ยนแปลงระบบต่างๆให้เป็นสากล นำระบบบาร์โค้ดมาใช้ เปลี่ยนภาพลักษณ์ของซูเปอร์มาร์เก็ตเมืองไทยให้มีความทันสมัย
ระยะเวลา 12 ปีเต็ม กับการทำซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้เธอได้ทักษะที่ดีติดตัวมาไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องของการตัดสินใจ

“เป็นคน Systematic ตัดสินใจเร็ว มีหลักการคิดตัดสินใจที่ว่า การตัดสินใจถูกต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ถ้าตัดสินใจผิดบ้าง แต่ตรงเวลา กลับมองว่าดี เพราะหลายๆ คนไม่ยอมตัดสินใจก่อนและปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง เพราะเขาคิดว่าจะมีโซลูชั่นที่ดีกว่าในอนาคต แต่บางครั้งไม่ได้ คุณต้องตัดสินใจ เพราะมันคือโซลูชั่นที่ดีในในเวลานั้น...การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดา แต่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเพราะถ้าทำเหมือนเดิมมันสบาย แต่ส่วนตัวมองว่าต้องทำเพราะถ้าไม่ทำ ในที่สุดก็แพ้คู่แข่ง”

ผลจากความตั้งใจทำงาน ไม่ย่อท้อ บวกกับการเป็นคนตั้งใจทำงาน ทำอะไรทำจริง อดทนและพยายามทำให้ประสบความสำเร็จ ไม่ปล่อยปละละเลย ทำให้เธอได้รับมอบหมายให้ทำงานที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

“ผู้ใหญ่อาจเห็นถึงความตั้งใจ เห็นผลงานของเรา ทำงานมาตั้งแต่ปี 2528 เป็นเวลา 21 ปีแล้ว และผู้ใหญ่มักจะให้งานที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ งานนี้เหมือนเราเป็นคอนดักเตอร์ ต้องเมกชัวร์ว่าทุกอย่างเป็นไปตามกลยุทธ์เดียวกัน เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับรายละเอียด มีระบบคิดเป็นขั้นเป็นตอน คิดให้เป็นภาพใหญ่ไม่แยกส่วน”

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

CPN from Hard Topic Money Channel


ดูวันที่ 11 มีนาคม 2556
http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/programpage.php?listid=5

http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/programpage.php?listid=5

เซ็นทรัล สมุย สุราษฎร์ธานี ต้นปี 57

เซ็นทรัล สมุย 10/03/56

ข้อมูลจาก www.skyscrapercity.com ความคืบหน้าล่าสุด






วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

ต่างชาติไม่ชอบหุ้นไทยแล้วจริงหรือ? 1800 จุดจะไปถึงมั้ย

 กรุงเทพธุรกิจ : CEO Blogs

วันที่ 20 มีนาคม 2556 02:00
โดย : ไพบูลย์ นลินทรางกูร
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกันเช่นเคยทุกวันพุธที่สามของเดือน


ท่าน ผู้อ่านที่ไม่ได้ติดตามตัวเลขการซื้อขายหุ้นของต่างชาติอย่างใกล้ชิด คงสงสัยว่าทำไมผมถึงตั้งคำถามของบทความในวันนี้ของผมแบบนี้ เพราะที่ผ่านมา ดูเหมือนว่านักลงทุนต่างชาติน่าจะชื่นชอบตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างดี เพราะนอกจากตลาดหุ้นไทย จะให้ผลตอบแทนเป็นอันดับหนึ่งในเอเชียในปีที่ผ่านมา มาปีนี้ SET ก็ยังคงปรับตัวขึ้นมากกว่าทุกตลาดหุ้นในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ถ้าเทียบกับตลาดหุ้นทั่วโลก เรายังคงอยู่ในอันดับ Top Three ในด้านผลตอบแทนเหมือนกับเมื่อปีที่แล้ว

แต่ที่ผมต้องตั้งคำถามแบบนี้ เป็นเพราะตัวเลขการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สูงถึง 17,000 ล้านบาท ทำให้ตลอดเกือบ 3 เดือนนับจากต้นปี มีตัวเลขซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ เพียงแค่ 7,500 ล้านบาท หรือประมาณ 250 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าเม็ดเงินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ที่ไหลเข้าไปยังตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ และ อีกเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์ ที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ในช่วงเวลาเดียวกัน

ถ้าคิดในเชิงบวกแบบง่ายๆ การขายของต่างชาติในเดือนที่แล้ว ไม่น่าจะมีอะไรมากไปกว่าการปรับพอร์ตการลงทุน เพื่อรักษาน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยไม่ให้สูงเกินกว่าระดับที่ต้องการ การที่ตลาดหุ้นไทยเป็น Outperformer หรือปรับขึ้นมากกว่าทุกตลาดในเอเชียในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลทำให้สัดส่วนของหุ้นไทยในพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น ถ้าเดิมนักลงทุนมีน้ำหนักหุ้นไทยอยู่ที่ 10% ของพอร์ต เวลานี้สัดส่วนของหุ้นไทยในพอร์ตอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 15% เพราะราคาหุ้นไทยขึ้นมากกว่าหุ้นประเทศอื่น สมมุตินักลงทุนรายนั้นต้องการรักษาระดับของหุ้นไทยไว้ไม่ให้เกิน 12% ก็จำเป็นต้องมีการขายหุ้นไทยออกมาบางส่วน นี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งของการขายหุ้นในช่วงที่ผ่านมา

ถ้าจะดูกันแบบลึกลงไปอีกหน่อย ต้องเอาตัวเลขซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในเดือนที่แล้วมาแกะดูว่า เขาขายหุ้นในกลุ่มไหนออกมามากเป็นพิเศษ เพื่อจะได้วิเคราะห์หาสาเหตุของการขายในรอบนี้ จากการคำนวณของผมพบว่า Sector ที่มีแรงขายของต่างชาติมากที่สุดในเดือนที่แล้วคือ Property มียอดขายสุทธิเกือบ 12,000 ล้านบาท รองลงมาคือ Commerce ขายสุทธิ 9,000 ล้านบาท ตามด้วย ICT ขายสุทธิอีกเกือบ 5,000 ล้านบาท ขณะที่ด้านซื้อสุทธิจะเป็น Banking และ Energy ที่มียอดซื้อสุทธิรวมกันอยู่ที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท ตามด้วย Food ซื้อสุทธิอีกประมาณ 1,500 ล้านบาท

การได้เห็นตัวเลขชัดเจนแบบนี้ น่าจะเริ่มเห็นภาพแล้วว่า อะไรเป็นสาเหตุของการขายหุ้นอย่างหนักในเดือนก.พ. หุ้นที่ถูกขายโดยต่างชาติส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มที่เป็น Significant Outperformer หรือมีการปรับขึ้นของราคาหุ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก เช่น Property Sector ปรับขึ้นถึงกว่า 120% ใน 12 เดือนที่ผ่านมา มากกว่า SET Index ที่ปรับขึ้น 34% ถึงเกือบ 4 เท่า หรือ Commerce ที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเกือบ 200% ในช่วง 2 ปีนี้ และหุ้นส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ ซื้อขายกันที่ค่า Forward P/E ที่สูงกว่าตลาดค่อนข้างมากที่ 25-35 เท่า รวมถึง ICT ที่ปรับขึ้นเกือบ 150% ใน 2 ปี ดูเหมือนว่าราคาหุ้นส่วนใหญ่จะสะท้อนข่าวดีเรื่อง 3G มากแล้ว การที่แรงขายส่วนใหญ่ของนักลงทุนต่างชาติอยู่ในหุ้นกลุ่มที่เป็น Significant Outperformer และกลุ่มที่เริ่มมี Valuations ที่ดูแพง เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล เพราะนี่เป็นวิธีการปกติของการบริหารพอร์ตลงทุน ไม่ใช่สัญญาณว่าเขาไม่ชอบประเทศไทยแล้ว


ทีนี้เรามาลองดูฝั่งซื้อบ้าง จะเห็นว่าทั้ง 3 กลุ่มที่ต่างชาติซื้อเข้าพอร์ต เป็นกลุ่มที่ราคาหุ้นยังปรับขึ้นไม่มากนัก และไม่ได้ Outperform ตลาดมากมายเช่น Banking และกลุ่มที่เป็น Significant Underperformer เช่น Energy ที่ราคาหุ้นไม่ได้ปรับขึ้นเลยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา รวมไปถึง Food ที่ราคาปรับขึ้นเพียง 24% ซึ่งต่ำกว่า SET Index พอสมควร

สรุปง่ายๆ คือการขายของต่างชาติรอบนี้ เป็นเพียงการ Take Profit ในหุ้นที่ได้กำไรมาก และหุ้นที่เขาอาจจะดูว่าเหลือ Upside ไม่มาก และย้ายเงินเข้ามาลงทุนในหุ้นราคาถูกและหุ้นที่ Underperform การที่นักลงทุนต่างชาติ ยังคงซื้อหุ้นธนาคารพาณิชย์ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะหมายความว่า เขายังไม่ได้หมดความเชื่อมั่นประเทศไทย เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นคงไม่กล้าซื้อหุ้นธนาคาร หรือ หุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่ม Energy

ที่ค่อนข้างน่าสนใจคือ ถ้าดูตัวเลขการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติสะสมตั้งแต่ต้นปี (Year-to-Date) กลุ่มที่มียอดซื้อสุทธิ เป็นอันดับแรกคือ ICT (ซื้อสุทธิ 16,000 ล้านบาท) ไม่ใช่ Banking แสดงว่ายังมีต่างชาติอีกมากที่เชื่อว่ายังเหลือ Upside อีกเยอะในหุ้นกลุ่มนี้ ตามด้วย Banking (ซื้อสุทธิ 15,000 ล้านบาท) และ Energy (ซื้อสุทธิ 11,000 ล้านบาท) ขณะที่ฝั่งขายสุทธิอันดับต้นๆ ยังคงเป็น Property (ขายสุทธิ 17,000 ล้านบาท) และ Commerce (ขายสุทธิ 12,000 ล้านบาท)

จริงๆ แล้วตัวเลขเหล่านี้ สอดคล้องกับมุมมองของต่างชาติที่ผมได้พบที่ฮ่องกงเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ผมได้มีโอกาสร่วมไปกับคณะของนายกรัฐมนตรี และรองนายกฯ กิตติรัตน์ ณ ระนอง ในการเยือนฮ่องกงอย่างเป็นทางการ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและตลาดทุนไทย ให้กับนักลงทุนที่นั่นได้รับทราบ รวมไปถึงนักลงทุนในลอนดอนที่ผมได้เดินทางไปพบเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เกือบทั้งหมดของนักลงทุนที่ผมได้พบในทั้ง 2 ที่ ยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทย และจะสอบถามถึงเรื่องความคืบหน้าของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2 ล้านล้านบาทเป็นหลัก โดยประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ:

1.เงินที่จะใช้ลงทุนในโครงการนี้จะมาจากที่ไหน ซึ่งท่านรองนายกฯ ก็ได้ตอบอย่างชัดเจนว่าส่วนหนึ่งจะมาจากการกู้ในประเทศ และอีกส่วนหนึ่งจะมาจากภาคเอกชนจากนโยบาย PPP

2.การลงทุนมากขนาดนี้จะทำให้ต้องมีการก่อหนี้อย่างมากมายหรือไม่ ซึ่งทางผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะก็ยืนยันว่าระดับหนี้จะไม่เกิน 50% ของ GDP อย่างแน่นอน

3.จะมีมาตรการใดหรือไม่ที่จะนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการล่าช้าใน การดำเนินโครงการนี้ ซึ่งท่านรองนายกฯ ก็รับปากว่าจะดูแลให้เกิดขึ้นตามแผนที่วางไว้ให้ได้ และการที่ภาครัฐออกข่าวอย่างต่อเนื่องก็เป็นเหมือนการผูกมัดไปโดยปริยายว่า จะต้องทำให้ได้ตามแผน

นอกจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน นักลงทุนกลุ่มนี้ยังให้ความสนใจเป็นพิเศษกับแนวโน้มเงินเฟ้อของไทย รวมไปถึงนโยบายการเงินของแบงก์ชาติอีกด้วย โดยส่วนตัวแล้ว ผมยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกกับตลาดหุ้นไทย และยังเชื่อเหมือนเดิมว่าก่อนที่ Equity Supercycle รอบนี้จะจบลง มีโอกาสสูงมากที่เราจะได้เห็น SET Index ทำสถิติ New High ใหม่ที่เกิน 1,800 จุด

ย้อนอดีต




วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

สมาคมศูนย์​การค้า​ไทย คาดอีก 5 ปี มีมูลค่าลงทุน 1.2 ​แสนลบ.​เป็น 100 ศูนย์


สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2556

นายนริศ ​เชยกลิ่น รองกรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ สายงาน​การ​เงิน​และบัญชี​และสายงานบริหารทรัพย์สิน บมจ.​เซ็นทรัลพัฒนา(CPN) ​ในฐานะนายกสมาคมศูนย์​การค้า​ไทย คาดว่า​ใน 5 ปีจะมีมูลค่าลงทุนศูนย์​การค้า​ในประ​เทศ​ไทยสูง​ถึง 1.2 ​แสนล้านบาท ​และพื้นที่ศูนย์​การค้าจะ​เติบ​โตปีละ 15-20% ​หรือมีศูนย์​การค้ากว่า 100 ​แห่ง ​โดย​เทียบศูนย์​การค้า 1 ​แห่ง ต่อประชากร 5 ​แสนคน จากปัจจุบัน​ไทยมีศูนย์​การค้าที่​เปิดอย่าง​เป็นทาง​การ 74 ​แห่ง คิด​เป็น 1 ศูนย์​การค้าต่อประชากร 9 ​แสนคน ​เทียบกับประ​เทศญี่ปุ่นที่มีสัดส่วน 1 ศูนย์​การค้าต่อประชากร 4.3 หมื่นคน สะท้อนว่าตลาด​ใน​ไทยยัง​เติบ​โต​ได้อีกมาก


โดย​ในช่วง​ไตรมาส 4/55 ​ถึง​เดือน ม.ค. 56 ​ผู้ประกอบ​การ ​ได้​ใช้​เงินลงทุนศูนย์​การค้า​ทั้ง​ใหม่​และปรับปรุง 30 ​โครง​การ จำนวน​เงินลงทุนนรวม 1.5 หมื่นล้านบาท ​ซึ่ง​เป็นศูนย์​การค้า​ในกรุง​เทพ 9 ​โครง​การ ​เชียง​ใหม่ 10 ​โครง​การ นอกนั้น กระจาย​ในจ.ระยอง พัทยา นนทบุรี ภู​เ​ก็ต อยุธยา อุบลราชธานี ​เพชรบุรี ​และ หาด​ใหญ่ ​เป็นต้น
ขณะที่​การ​เปิดประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน(AEC) ตลาดค้าปลีก​ไทยขยาย​ใหญ่ขึ้นมาก ​โดยคาดว่านักลงทุนจากจีน ญี่ปุ่น จะ​เข้ามาลงทุน​ใน​ไทย ​ผู้ประกอบ​การควรจะรับมือ​การ​แข่งขัน​ทั้ง​เชิงรุก​และ​เชืงรับ
นายนริศ กล่วว่า สมาคมศูนย์​การค้า​ไทยต้อง​การยกระดับขีด​ความสามารถของ​ผู้ประกอบ​การศูนย์ ​การค้า​ไทย ​เพื่อมุ่งสู่​เป้าหมาย​เป็น Regional Shopping Hub รับ AEC ​แลก​เปลี่ยน​ความรู้​เรื่อ่ง​เทค​โน​โลยี กฎหมายข้อบังคับ ​และพฤติกรรมของ​ผู้บริ​โภคที่​เปลี่ยน​แปลงอยู่​เสมอ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ความร่วมมือด้านข้อมูล​เพื่อ​เพิ่มศักยภาพ​ใน​การ​แข่ง ขันของตลาด​ในประ​เทศ​ไทย ดึงดูด​ผู้ประกอบ​การต่างชาติ พร้อมสนองต่อ​การ​เปิดตลาด AEC ​ในปี 58

นอกจากนี้ ​ใน​โอกาสที่สมาคมศูนย์​การค้า​ไทยครบรอบ 15 ปี​ในปีนี้สมาคมฯ จะจัดงาน The 1st Thailand Shopping Center Symposium ​ใน​เดือน พ.ย. 56 ​เพื่อขยายองค์​ความรู้ธุรกิจศูนย์​การค้า ​และ​เชิญชวน​ผู้ประกอบ​การอื่นๆ มาร่วม​เป็นสมาชิก ​และกำหนดทิศทางธุรกิจ​ในปีหน้า
​ทั้งนี้ ฐานข้อมูลของสมาคมฯ จะมี​การ​แบ่งประ​เภทศูนย์ข้อมูลช้ด​เจน ​เพื่อ​ความ​เข้า​ใจที่ตรงกัน ​ทำ​ให้​การพัฒนา​และบริหารงาน​เป็น​ไปอย่างรวด​เร็ว

1.Regional Mall ​และ Super Regional ​เป็นศูนย์​การค้าขนาด​ใหญ่ มีพื้นที่​ให้​เช่าตั้ง​แต่ 40,000 - 100,00 ตาราง​เมตรขึ้น​ไป ครอบคลุมกำลังซื้อ 400,000 คนขึ้น​ไป อาจมีห้างสรรพสินค้า ​หรือ​ไม่มี ​ซึ่ง​ในประ​เทศ​ไทยมีศูนย์​การค้าประ​เภทนี้มากที่สุด
2.Mega Mall ​เป็นศูนย์​การค้าขนาด​ใหญ่ มี Theme Concept ของศูนย์ที่ชัด​เจน ของศูนย์ที่ชัด​เจน อาจมี​หรือ​ไม่มีห้างสรรพสินค้า​ก็​ได้ ​แต่จะมี anchor ​หรือ​ผู้​เช่าราย​ใหญ่​เป็น​แม่​เหล็กดึงดูดลูกค้า มีพื้นที่​ให้​เช่าตั้ง​แต่ 260,000 ตาราง​เมตรขึ้น​ไป ครอบคลุมกำลังซื้อ 1 ล้านคน
3.Community Mall ​และ Neighborhood Mall ​ซึ่งกำลัง​เป็นที่นิยมของ​ผู้ประกอบ​การ​ในปัจจุบัน มีพื้นที่​ให้​เช่าตั้ง​แต่ 5,000-40,000 ตาราง​เมตร มีห้างสรรพสินค้าขนาด​เล็กอย่างน้อย 1 ห้าง ​หรืออย่างน้อยต้องมี Super Market ครอบคลุมกำลังซื้อ 5,000-200,000 คน ขึ้นกับขนาดของ​โครง​การ ​ซึ่งกำลังซื้อมักอาศัยอยู่​ในบริ​เวณรัศมี 4-6 กม.​จึงมัก​เห็น Community Mall ท่ามกลาง​โครง​การหมู่บ้าน ​และอาจบริหาร​โดย Residential Development
4.Specialty Mall  ​เป็นศูนย์​การค้าที่มีลักษณะธุรกิจ​เฉพาะ มีพื้นที่ตั้ง​แต่ 5,000 - 37,500 ตาราง​เมตร มัก​ไม่มีห้างสรรพสินค้า ​หรือ Super Market  ครอบคลุมกำลังซื้อ 1,000 - 150,000 คน
5.Luxury Mall ​เป็นศูนย์​การค้าที่​เจาะกลุ่ม Hi End ประกอบด้วยร้าน​แบรนด์หรูหรา ​แบรนด์​เนมระดับ​โลก ​หรือ Top Brand ​ใน​เมือง​ไทย มักสร้างติดกับ​โรง​แรมหรูระดับ 5 ดาว ดึงดูดนักท่อง​เที่ยว​และลูกค้าระดับ A+

CPN ​เปิดศูนย์​เซ็นทรัลอุบลฯ 5 ​เม.ย. ดัน​เป็นฮับ​ในภาคอีสานตอนล่าง


สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2556

นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ​ผู้ช่วยกรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ สายงาน​การตลาด บมจ.​เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า ซีพี​เอ็นจะ​เปิดตัว​เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี ศูนย์กลาง​ไลฟ์ส​ไตล์ช้อปปิ้ง​เซ็น​เตอร์ที่ทันสมัย​และครบครันที่สุด​ในภาค อีสานตอนล่าง ​ในวันที่ 5 ​เมษายนนี้อย่างยิ่ง​ใหญ่ ​ซึ่ง​เรามี​ความตั้ง​ใจที่จะ​เข้า​ไป​เติม​เต็ม​ความยิ่ง​ใหญ่ครบครัน​ให้ กับอุบลราชธานี​ซึ่ง​เป็นจังหวัด​เศูนย์กลางของภาคอีสานตอนล่างที่มีศักยภาพ สูง​ในทุกๆ ด้าน ​ทั้งด้าน​เศรษฐกิจ ​เกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวม​ถึง​เป็นประตู​การค้า​เชื่อม​โยงสู่อิน​โดจีน ​ทั้งลาว กัมพูชา ​และ​เวียดนาม

"ศูนย์​การค้าของ​เราจะนำปรากฎ​การณ์​ใหม่ของชีวิตล้ำสมัยมาตอบ​โจทย์​ไล ฟ์ส​ไตล์ของ​ผู้บริ​โภค ​ทั้ง​เทรนด์ศูนย์​การค้ารูป​แบบ​ใหม่รวม​ถึง​แบรนด์ยอดนิยม"
นอกจากนี้​การ​เข้า​ไปลงทุน​ในจังหวัดอุบลราชธานีจะช่วยกระตุ้น​เศรษฐกิจ ​และกระตุ้น​การจ้างงานอีกกว่า 3,000 อัตรา ​ซึ่งซีพี​เอ็นมุ่งหวัง​ให้ศูนย์​การค้า​แห่งนี้​เป็นศูนย์กลางของชุมชม ​เป็นสถานที่ที่คน​ในท้องถิ่นสามารถ​เข้ามาดำ​เนินงานของชุมชน สร้างมูลค่า​เพิ่ม​ให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น พัฒนาฝีมือ​แรงงาน รวม​ถึงศักยภาพ​ใน​การค้าขาย ​และ​การดำ​เนินธุรกิจ

​เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี มีมูลค่า​โครง​การกว่า 2,750 ล้านบาท ตั้งอยู่บนสุดยอด​ทำ​เล​ใกล้กับประตู​การค้า​และ​การท่อง​เที่ยวสู่อิน​โด จีน บนถนน​เลี่ยง​เมือง (ทางหลวง 231) มีขนาด​โครง​การกว่า 140,000 ตร.ม. บนพื้นที่ 76 ​ไร่ ที่นี่​เป็นศูนย์​การค้าที่มี​ความ​โดด​เด่นทุกด้าน มีรูป​แบบอาคารที่ล้ำสมัย​โดด​เด่นด้วย​การประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น​ เข้ากับสถาปัตยกรรมสมัย​ใหม่อย่างลงตัว ด้วย​เส้นสายของ​ใบบัว​และกลีบดอกบัว​ซึ่ง​เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ตก​แต่งภูมิทัศน์ภายนอกด้วยบ่อบัวนานาชนิดกว่า 30 สายพันธุ์ที่​เรียงกัน​เป็นรูปกลีบดอกบัว ​การตก​แต่งภาย​ใน​โดด​เด่นด้วยประติมา-กรรมที่​ได้​แรงบันดาล​ใจจากน้ำตก​ แสงจันทร์ ​และลูกยางนา มีจุดถ่ายภาพที่อิงกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิ ม้านั่ง 3 มิติที่จำลองจากภาพ​เขียนผา​แต้ม ดอกบัว ​และบึงบัว ​ซึ่ง​เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ด้านสินค้า​และบริ​การ​เพียบพร้อมด้วยร้านค้าปลีกชั้นนำ ​ทั้งห้างสรรพสินค้า​โรบินสัน, Tops Market, PowerBuy, SuperSports, B2S, OfficeMate ที่ทันสมัย​และมีสินค้าครบครัน ​เป็น​แหล่งรวม​แบรนด์ดังจากทั่วทุกมุม​โลกกว่า 200 ร้านค้า ​ซึ่งรวม​ถึง​แบรนด์ที่มา​เปิด​เป็นครั้ง​แรกที่อุบลราชธานี อาทิ Jaspal, MANGO, Lyn, Lyn Around, Accessorize, Charles & Keith รวม​ทั้ง​เป็นศูนย์รวมร้านอาหาร​และคา​เฟ่​เบ​เกอรี่อร่อยหลากส​ไตล์ อาทิ Starbucks, Auntie Anne’s, MK, Sizzler, SUKISHI, SHABUSHI, Yayoi, Kimjuu
​เต็มอิ่มอรรถรสกับ​แหล่งบัน​เทิงครบวงจรกับ CPN Aquarium อควา​เรียม​แห่ง​แรก​ในอุบลราชธานีที่จะสร้าง​ความตื่นตาตื่น​ใจด้วยกองทัพ ปลาหายากกว่า 300 ตัวที่จะมานำ​เสนอ​ความอุดมสมบูรณ์​แห่งท้องทะ​เลสู่​ใจกลาง​เมือง อุบลราชธานี พร้อมด้วย​โรงภาพยนตร์ Major Ciniplex ระบบดิจิตอลมาตรฐานระดับ​โลก 7 ​โรง ​และสวนสนุก Fun Planet

นายณัฐกิตติ์ กล่าวว่า กลยุทธ์ตลาดของซีพี​เอ็น​ใน​การ​ทำตลาด​เปิดศูนย์​การค้า​เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี จะ​เน้น​การนำนวัตกรรม​การตลาด​ใหม่ๆ มา​ใช้ ​และสื่อสารสร้าง​การรับรู้​แบบครบวงจร 360 องศา รวม​ถึงนำดิจิตอล มาร์​เ​ก็ตติ้งมา​เพิ่มมูลค่า​ให้กับ​แคม​เปญ​การตลาด มี​การผนึกกำลังกับพันธมิตร​ใน​การ​ทำ​โปร​โมชั่น​และสิทธิพิ​เศษต่างๆ

โดย​โปร​โมชั่นช่วง​เปิดศูนย์ฯ นั้นพิ​เศษสุด​ถึง 4 ต่อ ต่อที่ 1: ช้อปครบ 500 บาท ลุ้นรางวัล​ใหญ่ รวม 14 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1.3 ล้านบาท ​โดยมีรางวัล​ใหญ่​เป็น รถยนต์ นิสสัน อัล​เมร่า ต่อที่ 2: รวม​ใบ​เสร็จครบ 500 บาท ​แล้วสมัครสมาชิก CPN Click ลุ้นรางวัล​โดย​ไม่ต้องกรอกคูปอง รับฟรี CPN Click Mug ต่อที่ 3: ช้อปครบ 3,500 บาท รับฟรี ​แว่นตากัน​แดดสุดชิค ช้อปครบ 1,500 บาท รับฟรี Fashionista Bag ​หรือ Trendy Bag ต่อที่ 4: สิทธิพิ​เศษจากบัตร​เครดิต ​และพันธมิตรที่ร่วมราย​การ

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

แนวโน้มการเติบโตของ CPN นริศ เชยกลิ่น

Corporate Insight : 'นริศ เชยกลิ่น' รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) 22 ก.พ.2556



วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

เซ็นทรัลทิ้งโปรเจ็กต์สวนลุมไนท์ ทรัพย์สินนับหนึ่งใหม่ ยักษ์อสังหาฯแห่ชิงดำ


09 มี.ค. 2556 เวลา 21:14:25 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ปริศนา "เซ็นทรัล" ยกเลิกสัญญาเช่าที่ดินโรงเรียนเตรียมทหาร ของ สนง.ทรัพย์สินฯ พับแผนผุดคอมเพล็กซ์หมื่นล้าน อ้างสถานการณ์เปลี่ยน วงการจับตาหวนร่วมวงชิงที่ดินผืนเดิมที่ถูกรวบแปลงปัดฝุ่นเปิดประมูลใหม่ 88 ไร่ เผยบิ๊กพัฒนาที่ดินทั้งแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์-ที.ซี.ซี.แลนด์-ซิตี้เรียลตี้ จ้องฮุบทำเลไข่แดง ขณะที่ กทม.เตรียมปลดล็อกข้อบัญญัติควบคุมความสูงอาคารไม่เกิน 45 เมตร ให้ใช้ประโยชน์ได้ไม่จำกัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยบริษัทในเครือคือ "ทุนลดาวัลย์" ได้นำที่ดิน 88 ไร่ ตรงข้ามสวนลุมพินี ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหารเดิม ออกมาเปิดประมูลในรูปแบบสัญญาเช่าระยะยาว 30+30 ปี และกำลังได้รับความสนใจจากบริษัทพัฒนาที่ดินติดต่อขอรายละเอียดรูปแบบการพัฒนาโครงการและเงื่อนไขการประมูล

แลนด์ฯ-ซิตี้เรียลตี้ ร่วมประมูล

นายประเสริฐ ศรีอุฬารพงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด ที่มีนายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด เป็น

ผู้ถือหุ้นใหญ่ ในฐานะผู้บริหารศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์และเทอร์มินอล 21 เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้ส่งตัวแทนติดต่อบริษัททุนลดาวัลย์เพื่อขอรับรายละเอียดและเงื่อนไขการประมูลที่ดิน 88 ไร่ บริเวณหัวมุมถนนวิทยุตัดถนนพระรามที่ 4 ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะลงทุนพัฒนาโครงการอะไรได้บ้าง

เบื้องต้นมีความเห็นว่าเป็นที่ดินที่ตั้งอยู่ในทำเลใจกลางเมืองที่มีศักยภาพ แต่เนื่องจากเป็นที่ดินผืนใหญ่จึงต้องพัฒนาโครงการแบบมิกซ์ยูส (ผสมผสานการใช้งาน) อาทิ ออฟฟิศ ที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า โรงแรม ฯลฯ ประเมินว่าแนวโน้มอัตราผลตอบแทนค่าเช่าตลอดอายุสัญญา 30 ปีทั้งแปลง น่าจะไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะที่มูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนรายอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มสูงว่าจะเข้าร่วมประมูลด้วย อาทิ กลุ่ม ที.ซี.ซี.แลนด์ ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ก่อนหน้านี้เคยยื่นประมูลแต่ถูกกลุ่มเซ็นทรัลเฉือนชนะการประมูลไป นอกจากนี้ บริษัท ซิตี้เรียลตี้ จำกัด ที่เคยร่วมประมูลครั้งก่อนก็แสดงความสนใจจะเข้าร่วมประมูลเช่นกัน

วางมาสเตอร์แปลน 6 รูปแบบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเปิดประมูลที่ดินแปลงดังกล่าว บริษัททุนลดาวัลย์ กำหนดรูปแบบให้การพัฒนาโครงการเป็นรูปแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 1) โรงแรม 2) ที่อยู่อาศัย 3) ศูนย์การค้า 4) สำนักงาน 5) ศูนย์การศึกษา และ 6) ศูนย์วัฒนธรรม (โรงละคร, อาร์ตแกลเลอรี่) เงื่อนไขการพัฒนาเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเสนอแผนพัฒนาที่ดินแบบทั้งแปลง 88 ไร่ หรือเฉพาะบางส่วนตามมาสเตอร์แปลนที่วางไว้ก็ได้ โดยกำหนดให้ผู้ที่สนใจติดต่อขอรับรายละเอียดได้ภายในวันที่ 29 มีนาคม 2556

ที่ดินแปลงนี้ถือว่าตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพ เพราะอยู่ติดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลุมพินีและใกล้จุดขึ้น-ลงทางด่วนถนนพระรามที่ 4 และแวดล้อมด้วยโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นแหล่งธุรกิจในบริเวณใกล้เคียง อาทิ จามจุรีสแควร์, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในอนาคตการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีแผนจะนำที่ดินท่าเรือกรุงเทพ (ท่าเรือคลองเตย) เนื้อที่กว่า 2,300 ไร่ มาพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ในอนาคต

สำหรับที่ดินของบริษัททุนลดาวัลย์ ที่เป็นโรงเรียนเตรียมทหารเดิม เดิมมีเนื้อที่ 127 ไร่ เมื่อปี 2549 ได้แบ่งแปลงที่ดินด้านติดถนนพระรามที่ 4 จำนวน 40 ไร่ เปิดประมูล และเป็นกลุ่มเซ็นทรัล ที่เป็นผู้ชนะประมูลได้สิทธิเช่าระยะยาว 30 ปี ต่อมาบริษัททุนลดาวัลย์ได้ตัดแบ่งที่ดินอีก 20 ไร่ เป็นที่ที่ตั้งสถานทูตญี่ปุ่น และอีก 20 ไร่ให้สถานทูตออสเตรเลีย ส่วนที่เหลือมีแผนจะนำมาพัฒนาโครงการอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม ภายหลังกลุ่มเซ็นทรัลชนะการประมูลที่ดิน ในขณะนั้นยังมีผู้ใช้พื้นที่อยู่คือบริษัท พี.คอน. ดีเวลลอปเม้นท์ (ไทย) จำกัด ซึ่งเดิมเป็นผู้พัฒนาโครงการสวนลุม ไนท์บาซาร์ไม่ย้ายออกจากพื้นที่ และต่อมาได้เกิดการฟ้องร้องต่อศาลและมีคำสั่งตัดสินให้บริษัท พี.คอน.ฯออกจากพื้นที่ แต่ภายหลังระยะเวลาผ่านมา 8 ปี กลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาก็ยังไม่ได้เข้าไปพัฒนาพื้นที่ กระทั่งล่าสุดบริษัททุนลดาวัลย์ได้นำที่ดินจำนวน 88 ไร่ ออกมาประมูลใหม่อีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีคำถามตามมาว่า ทำไมซีพีเอ็นจึงยอมยกเลิกการเข้าบริหารพื้นที่ 40 ไร่ ที่ได้เซ็นสัญญาเอ็มโอยูไปแล้ว และจะกลับเข้ามาร่วมประมูลใหม่หรือไม่ เพื่อให้ได้พื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

เซ็นทรัลขอยกเลิกสัญญา

แหล่งข่าวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มเซ็นทรัลได้ขอยกเลิกสัญญาเช่าดังกล่าว โดยให้เหตุผลสั้น ๆ ว่า นับจากปี 2549 ที่ประมูลได้ ขณะนี้เวลาผ่านมาร่วม ๆ 8 ปี ทำให้ตัวเลขการลงทุนไม่อัพเดต สำนักงานทรัพย์สินฯจึงยกเลิกสัญญากับกลุ่มเซ็นทรัล และนำที่ดิน 40 ไร่มาประมูลใหม่ โดยรวมกับแปลงติดกันอีก 48 รวมเป็นผืนใหญ่ 88 ไร่ เปิดให้เอกชนรายอื่นที่สนใจเข้าร่วมประมูลและทางกลุ่มเซ็นทรัลก็มีสิทธิ์เข้าร่วมได้ด้วย

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนไปจากเมื่อ 8 ปีที่แล้ว นอกจากนี้ที่ดินผืนนี้ยังติดเรื่องความสูงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (กทม.) เรื่องการควบคุมความสูงอาคาร อาจจะทำให้เอกชนพัฒนาอาคารที่มีขนาดสูงมาก ๆ ไม่ได้ อาจจะไม่คุ้มมูลค่าการลงทุนที่แพงขึ้น โดยเสนอแผนการลงทุนโครงการมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท

"อีกเหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า ทางกลุ่มเซ็นทรัลได้ประมูลที่ดินสถานทูตอังกฤษไปในราคาประมาณตารางวาละ 1 ล้านบาท อาจจะทำให้แผนการลงทุนของบริษัทบนที่ดินตรงโรงเรียนเตรียมทหารเปลี่ยนไปด้วย"

ติดผังเมืองอาคารสูงไม่เกิน 45 ม.

นายเกรียงพล พัฒนรัฐ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ดินแปลงโรงเรียนเตรียมทหารเดิมในผังเมืองรวม กทม. กำหนดให้เป็นพื้นที่สีแดง (พาณิชย

กรรม) พัฒนาได้เต็มที่ แต่ติดข้อบัญญัติเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทบริเวณ "สวนเบญจกิติ" และบริเวณโดยรอบในท้องที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย และแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ที่ กทม.ออกมาเมื่อปี 2547 โดยที่ดินผืนนี้ถูกจัดอยู่บริเวณที่ 4 ควบคุมอาคารก่อสร้างสูงไม่เกิน 45 เมตร (ประมาณ 15 ชั้น)

"ล่าสุด กทม.อยู่ระหว่างแก้ไขข้อบัญญัตินี้ จะยกเลิกไม่ควบคุมเรื่องความสูงอาคาร ได้เสนอเรื่องให้สภา กทม.พิจารณาแล้ว เพื่อเสนอให้ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่พิจารณาอนุมัติต่อไป แต่ยังตอบไม่ได้ว่าจะบังคับใช้เมื่อไหร่"

ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็นระบุว่า การเปิดประมูลพื้นที่ดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากการส่งมอบพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯล่าช้า ประกอบกับ สัญญาระหว่างซีพีเอ็นและสำนักทรัพย์สินฯเป็นเพียงการเซ็นเอ็มโอยูเท่านั้น อย่างไรก็ตาม บริษัทยังสนใจและเร่งดำเนินการเพื่อจะเข้าร่วมประมูลรอบใหม่ครั้งนี้ด้วย

ทำเลไข่แดง...ใครจะเข้าวิน
ย้อน ประวัติที่ดินโรงเรียนเตรียมทหารเดิมของบริษัททุนลดาวัลย์ ถือเป็นที่ดินทำเลไข่แดงใจกลางเมือง โดยเมื่อปี 2549 บริษัททุนลดาวัลย์ ในเครือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้นำที่ดิน 40 ไร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนเตรียมทหารเดิมออกเปิดประมูล โดยครั้งนี้มีผู้เข้าแข่งขันเสนอโครงการในรอบแรกหลายราย ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แสนสิริ กลุ่มซิตี้เรียลตี้ร่วมกับบีอีซี เทโร กลุ่มสยามพิวรรธน์ร่วมกับมาบุญครองและธนชาติ กลุ่มทีซีซีแลนด์ และ บมจ.แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์

ในขณะนั้นมีกระแสข่าว ก่อนมาเป็นระยะ ๆ ว่ากลุ่มเซ็นทรัลมีแนวโน้มจะเข้าวิน และที่สุดก็เป็นกลุ่มเซ็นทรัลที่เฉือนชนะรายอื่น โดยเสนอแผนการลงทุนโครงการมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท

โดยวาง แผนพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ใหญ่ ที่มีโครงการหลากหลาย ทั้ง "ศูนย์การค้า-อาคารสำนักงาน-โรงแรม" ขณะที่กลุ่มทีซีซีแลนด์ได้ถอนตัวจากการเสนอโครงการในการคัดเลือกรอบที่ 2 เพราะขณะนั้นไม่มั่นใจเรื่องข้อกฎหมายอาคารและผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ที่จะออกมาในขณะนั้น

การเปิดประมูลใหม่ในรอบนี้หากมีชื่อกลุ่มเซ็นทรัลร่วมด้วย ก็ยังถือว่าค่อนข้างมีภาษีดี

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

CPN ขยายสาขา เติบโตดีต่อเนื่อง ถึงปี 2563

CPN ​แนว​โน้ม​เติบ​โต


หนังสือพิมพ์​แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556
 
บล.บัวหลวง วิ​เคราะห์หุ้น บมจ. ​เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ​โดยระบุว่า ​แนว​โน้ม​การ​เติบ​โตระยะยาวที่ปรับตัวดีขึ้น​และ​ความ​เสี่ยงด้านสภาพ คล่อง​ใน​การซื้อขายหุ้นที่ลดลง ส่งผล​ให้มูลค่าหุ้นจากวิธี DCF ของ​เรา​เพิ่มขึ้น​และอัพ​ไซด์สูงขึ้นมาอยู่​ในระดับที่น่าสน​ใจอีกครั้ง
ทั้งนี้ คณะกรรม​การบริหารของ CPN ​ได้อนุมัติ​การ​แตกพาร์ที่อัตราส่วน 1:1 ​และออกหุ้นสามัญ​ใหม่จำนวน 130.4 ล้านหุ้น หลัง​การ​แตกพาร์ ​โดยหุ้น​ใหม่จะ​เสนอขาย​แก่นักลงทุนสถาบัน ​และ/​หรือนักลงทุน​เฉพาะ​เจาะจงผ่าน​การ​เสนอขายหุ้นที่ออก​ใหม่​แก่บุคคล​ ในวงจำกัด (Private Placement) ​ทั้งนี้กลุ่ม​เซ็นทรัล​และครอบครัวจิราธิวัฒน์จะ​ไม่​เข้าซื้อหุ้นออก​ใหม่ นี้ ​เงินที่​ได้จาก​การ​เพิ่มทุนจำนวน 5.2-6.5 พันล้านบาท? จะนำ​ไป​ใช้​ใน​การก่อสร้าง​โครง​การ​ใหม่​เพิ่ม​เติมจาก​แผน​เดิมที่จะขยาย สาขา 3-4 ​แห่งต่อปี จำนวนหุ้นจะ​เพิ่มขึ้น​เพียง 2.9% ​แต่กำ​ไรต่อหุ้นจะปรับตัวลดลง​เพียง​เล็กน้อย​และ​เกิดขึ้น​ในช่วง​เวลาที่ สั้นมาก ​เนื่องจากผลตอบ​แทนจาก​โครง​การที่​เพิ่ม​เข้ามาจะกลับมาชด​เชย​ในส่วนนี้​ ได้ ​เราอาจ​เห็นกำ​ไรต่อหุ้น​เพิ่มสูงขึ้นหาก​โครง​การที่​เพิ่ม​เข้ามานั้น​ เป็น​การ​เข้าซื้อกิจ​การ

แม้ว่าจะมี​เงินทุนที่​เพิ่ม​เข้ามาจาก​การ​เสนอขายหุ้น​แก่บุคคล​ในวง จำกัด ​แผน​การขายสินทรัพย์​ในส่วนของ​เซ็นทรัล ​เชียง​ใหม่ ​และ​เซ็นทรัล รามอินทรา ​ให้​แก่กองทุนรวมสิทธิ​การ​เช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN รี​เทล ​โกรท (CPNRF) ยังคงดำ​เนินต่อ​ไป ​แต่อาจจะ​เลื่อนออก​ไป​ในช่วงปลาย​ไตรมาส 3/56 ​หรือช่วงต้น​ไตรมาส 4/56 ​โดย CPN ยังคงต้องขายสินทรัพย์​เข้ากองทุน ​เนื่องจากมีงบลงทุนสูง​ถึง 1.4-1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ​ในช่วงปี 2556-57 ​และงบลงทุนจำนวน 1 หมื่นล้านบาทสำหรับปี 2558 (​ไม่รวม​โครง​การที่จะ​เพิ่ม​เข้ามา​ใหม่) ​เราคาดว่ากำ​ไรจาก​การขายสินทรัพย์จะมีมูลค่าประมาณ 3.8 พันล้านบาท ​โดยอาจบันทึก​เข้ามา​ใน​ไตรมาส 3/56 ​หรือ 4/56

หากมอง​ในทาง​เทคนิค​แล้ว ​การ​แตกพาร์จะช่วย​เพิ่มสภาพคล่องของหุ้น​ให้สูงขึ้น นำมา​ซึ่ง​ความ​เสี่ยงด้านสภาพคล่องที่ลดลง​และ WACC ที่ต่ำลง สำหรับ​การ​เพิ่มทุนผ่านวิธี​การ​เสนอขายหุ้น​แบบ​เฉพาะ​เจาะจง นอกจากจะช่วย​เพิ่มสภาพคล่องขึ้น​ได้อีก ยังจะช่วย​ให้ CPN สามารถขยายธุรกิจ​ได้มากขึ้นอีกด้วย ​ซึ่งจะส่งผล​ให้กำ​ไรของบริษัท​เติบ​โตอย่างก้าวกระ​โดด​ในระยะยาว ​เราคิดว่าสมมติฐาน terminal growth ที่ 3% หลังจากปี 2563 นั้นค่อนข้างต่ำ​เกิน​ไป ​เนื่องจาก​แผน​การขยายธุรกิจ​ใน​เชิงรุกของ CPN มี​แนว​โน้มที่จะ​เร็วขึ้น​และต่อ​เนื่องนานกว่าที่​เราคาด​ไว้ก่อนหน้านี้ 

 ดังนั้น​เรา​จึงปรับ​เพิ่มสมมติฐาน terminal growth rate ​เป็น 4% ​และปรับลด WACC จาก 8.8% ลงมา​เป็น 8.4% ​เนื่องจาก​ความ​เสี่ยงทางด้านสภาพคล่องที่ลดน้อยลง 

จากผลดังกล่าว ราคา​เป้าหมาย ณ สิ้นปี 2556 ของ​เรา​จึง​เพิ่มขึ้น​เป็น 118 บาท จาก 84.50 บาท

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มเซ็นทรัล ต่ออายุกรมธรรม์กับเทเวศประกันภัย ยันมีความสันพันธ์ที่ดี


แหล่งข่าว : http://www.deves.co.th/News/View/71

เทเวศ ตั้งสำรองค่าสินไหมทดแทน กรณีเพลิงไหม้ มั่นใจไม่กระทบฐานะทางการเงิน พร้อม
โชว์ผลประกอบการไตรมาส 4 กำไรกว่า 172 ล้าน


บมจ.เทเวศประกันภัย ยันคำตัดสินศาลแพ่งกรณีคดีเหตุเพลิงไหม้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคู่ค้า พร้อมเผยผลประกอบการงวด 12 เดือน ปี 2555
[สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2555] มีรายได้เบี้ยประกันภัยรับรวม 3,841.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23 โดยสรุปตัวเลขกำไรจากการดำเนินงาน 172.85 ล้านบาท


นายชาติชาย ชินเวชกิจวานิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด [มหาชน]
เปิดเผยว่า “จากคำสั่งศาลกรณีเหตุเพลิงไหม้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และห้างเซ็นที่ศาลแพ่งมีคำสั่ง
เมื่อวันที่ 1 และวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา ให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่กองทุนรวมธุรกิจไทยกับพวก
รวม 4 คน จำนวน 3,709 ล้านบาทเศษพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 54
และชดใช้ให้บริษัทสรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด จำนวน 1,977 ล้านบาทเศษพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5
ต่อปี นับตั้งแต่ 17 พฤษภาคม 55 นั้น ทางบริษัทฯ ได้มีการตั้งสำรองค่าสินไหมทดแทนไว้เรียบร้อย
แล้ว รวมทั้งบริษัทรับประกันภัยต่อที่บริษัทฯ ทำประกันภัยต่อสำหรับกรมธรรม์นี้ ซึ่งเป็นบริษัทที่มี
Credit Rating ไม่ต่ำกว่า A- ทั้งสิ้น ก็ได้มีการตั้งสำรองค่าเสียหายในส่วนของตนตามระบบงาน ทั้งนี้
บริษัทฯ ได้มีการพูดคุยกับผู้เอาประกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงขั้นตอนในการดำเนินงานต่อไป
เนื่องจากจะต้องมีการหารือร่วมกันกับบริษัทรับประกันภัยต่อ [Re-insurer] และหลังจากได้ข้อสรุป
บริษัทฯ จะรีบดำเนินการตามขั้นตอนโดยเร็วที่สุดตามหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทประกันภัยที่ดี
ต่อลูกค้า สำหรับคดีนี้ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์กับทางกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลอย่างแน่นอน เนื่องจาก
บริษัทฯ ยังคงได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจจากกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลดังเช่นที่ผ่านมา 


    โดยในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ได้มีการต่ออายุกรมธรรม์ IAR ของ Central Department Store และกำลังดำเนินการต่อกรมธรรม์ Central World หรือ Central Pattana ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้ในวงเงินคุ้มครองประมาณ 3 หมื่นล้านบาท”

จากเหตุการณ์ความเสียหายขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้น ได้แก่ เหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ที่ส่งผล
กระทบอย่างมากต่อธุรกิจประกันวินาศภัยทั้งระบบ บริษัทฯ จึงได้ตั้งสำรองค่าสินไหมไว้เพื่อป้องกัน
ภาระความเสี่ยงที่อาจขึ้นได้ ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับปีจำนวน 114.24 ล้านบาท ทั้งนี้
เพื่อให้การจัดทำรายงานทางการเงินของบริษัทฯ เป็นไปอย่างรอบคอบรัดกุมและมีลักษณะ
Conservative มากที่สุด และสำหรับอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญนั้น ปัจจุบัน บริษัทฯ มีอัตราส่วน
ความเพียงพอของเงินกองทุน [CAR Ratio] ร้อยละ 223.22 สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ คปภ. กำหนดไว้
สำหรับปี 2555 ที่ร้อยละ 125 และร้อยละ 140 สำหรับปี 2556


ทั้งนี้ ในส่วนของการขยายตลาดไปสู่ลูกค้ารายย่อยนอกเหนือไปจากลูกค้ารายใหญ่และลูกค้าองค์กร
ซึ่งเป็นฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งของเทเวศฯ นั้น ปัจจุบัน การขยายตลาดดังกล่าวมีอัตราการเติบโตที่ดี
ผ่านช่องทางสาขาจำนวน 15 สาขา และ Deves Station จำนวน 13 แห่ง ซึ่งเป็นจุดบริการที่กระจาย
อยู่ตามศูนย์การค้าและแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ โดยล่าสุดในเดือนเมษายนนี้ จะขยายเพิ่มอีกในรูปแบบ
“Deves Station” ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล อุบลราชธานี เพื่อขยายโอกาสการให้บริการแก่ลูกค้า
ของเทเวศประกันภัยในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งจะทำการปรับปรุงที่ทำการสาขาโดยนอกจากการออกแบบจะ
เน้นความสวยงาม ทันสมัยและสะดวกสบายแล้ว ยังเป็นการพัฒนาช่องทางและวิธีการนำเสนอข้อมูล
ข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์ บริการและโปรโมชั่นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าด้วย โดยได้เริ่มดำเนินการ
แล้วที่สาขาสระบุรีและชลบุรี และคาดว่าจะแล้วเสร็จครบทุกสาขาภายในปี 2556 นี้


บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด [มหาชน] บริษัทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็น
บริษัทประกันวินาศภัยของคนไทยที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง ดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส
ตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 66 ปี 

* * * * * * * * * * *
สำนักบริหารงานกรรมการและสื่อสารองค์กร บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด [มหาชน]

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556


CPNลุยสวนลุมไนท์ ดันเข้ากองทุนอสังหา CPNCG

ข่าวหุ้น วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2555

เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN เตรียมเดินหน้าโครงการพัฒนาที่ดิน 40 ไร่ บริเวณสวนลุมไนท์ฯเป็นศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงานใจกลางกรุง พร้อมดันเข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ หลังกองทุน CPNCG  ติดลมบน ด้านโบรกฯมั่นใจ Q3  กำไรโต 575% จากปีก่อน   
 
แหล่งข่าวจากที่ปรึกษาทางการเงิน เผยว่า บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ  CPN ผู้ชนะประมูลที่ดินสวนลุมไนท์ บาซาร์เดิม ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 40 ไร่ ขณะนี้เตรียมที่จะเข้าพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา และโรงแรม รวมทั้งอาคารสำนักงานในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ประมาณต้นปีหน้า

โดย CPN วางแผนที่จะนำเข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกับการขายสินทรัพย์ เซ็นทรัลเวิลด์ ในส่วนสำนักงานที่ผ่านมา “ปีหน้า CPN จะสามารถเริ่มก่อสร้างโครงการศูนย์การค้าใหม่ตามแผนที่วางไว้บริเวณที่ดิน สวนลุมไนท์ฯเดิม หลังจากได้รับส่งมอบพื้นที่แล้ว” แหล่งข่าว กล่าว


แหล่งข่าว กล่าวว่า ปีนี้เซ็นทรัลพัฒนาประสบความสำเร็จในการออกกองทุน CPN Commercial Growth Leasehold Property Fund (CPNCG) เป็น อย่างดี ดังนั้นจึงมีแผนที่จะนำโครงการพัฒนาบริเวณสวนลุมไนท์ฯเข้ากองทุนอสังหาฯอีก โครงการหนึ่ง โดยเฉพาะสิทธิการเช่าอาคารสำนักงานใหม่ ซึ่งเป็นย่านที่มีราคาค่าเช่าค่อนข้างสูง
 
 

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

สนง.ทรัพย์สินฯเปิดที่ดิน3แปลงประมูลประตูน้ำ-ราชเทวี-สีลม


ที่ดินบริเวณ สวนลุมไนท์ เซ็นทรัลพัฒนา CPN เป็นผู้ชนะการประมูลเมื่อปี 2550 จำนวน 40 ไร่ ยังคงสิทธิเดิม
วันที่ 15 มีนาคม 2555 11:00 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


สำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ลุยแผนพัฒนาที่ดินล็อตใหม่ เปิดทีโออาร์ที่ดินทำเลทองใจกลางเมืองอีก 3 แปลง ประตูน้ำ-ราชเทวี-สีลม

 นายสมบูรณ์ ชัยเดชสุรยะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ เปิดเผยแผนงานปี 2555 ว่า จะพัฒนาชุมชนควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยเน้นพัฒนาพื้นที่ที่ปัจจุบันทรุดโทรมอย่างมาก และนำมาฟื้นฟูและพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งปีนี้ประกอบด้วย พื้นที่ซึ่งเตรียมแจ้งผู้เช่าปัจจุบันว่าจะพัฒนาใหม่ ได้แก่ ที่ดินตลาดเฉลิมลาภ ย่านประตูน้ำ บริเวณหัวมุม ถ.ราชปรารภ ตัดกับ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ เนื้อที่ 7 ไร่ ซึ่งใช้ประโยชน์มากว่า 30 ปี ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรม ระบบสาธารณูปโภคไม่เหมาะสม อีกทั้งพื้นที่บางส่วนถูกต่อเติมอย่างไม่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ จนหน่วยงานราชการได้ยกเลิกใบอนุญาตตลาดแล้ว ดังนั้น สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงมีนโยบายนำพื้นที่ดังกล่าวมาปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
 ที่ดินแปลงดังกล่าวได้กำหนดเป้าหมายการรับมอบคืนพื้นที่จากผู้เช่าเดิม ภายในสิ้นปี 2555 ขณะนี้กำลังดำเนินการส่งหนังสือแจ้งยุติการใช้พื้นที่เดือน มี.ค.นี้ โดยให้ระยะเวลาผู้เช่าเตรียมความพร้อมไม่น้อยกว่า 8 เดือนนับแต่วันส่งหนังสือฯ ให้ผู้เช่า คาดว่าจะได้พื้นที่คืนครบประมาณกลางปี 2556
 “เบื้องต้นสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ตั้งข้อกำหนดให้ผู้พัฒนาที่แสดงความจำนงยื่นเสนอทีโออาร์จะต้องช่วยเหลือ และรับผิดชอบกลุ่มผู้เช่าเดิมมีพื้นที่ชั่วคราวประกอบอาชีพระหว่างการพัฒนา โครงการที่อาจใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปีด้วย เพื่อให้ผู้เช่าเดิมยังทำมาหากินได้ในบริเวณเดียวกันหรือไม่ห่างไกลมากนัก ขณะที่การสรรหาผู้พัฒนาอาจใช้ทราบผลในกลางปีนี้” นายสมบูรณ์ กล่าว
 นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่รอการสรรหาผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดินบริเวณสี่แยกราชเทวี พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 3 งาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอรับคืนจากผู้เช่าเดิมอีก 2 จึงราย จากนั้นจะเริ่มกระบวนการสรรหาผู้พัฒนา คาดว่าจะเริ่มกระบวนการได้ปลายปีนี้
 ทั้ง ยังมีที่ดินบริเวณซอยพิพัฒน์ ถนนสีลมเนื้อที่ 300 ตารางวา กำหนดเวลาให้ยื่นทีโออาร์ข้อเสนอโครงการ 10 พ.ค.-21 มิ.ย.นี้ จะทราบผลภายในเดือน ก.ย.นี้

แจงขึ้นค่าเช่าลดเหลื่อมล้ำ ส่วนประเด็นการปรับขึ้นค่าเช่าพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ นายสมบูรณ์ กล่าวว่า การปรับค่าเช่าดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่เชิงพาณิชย์และเพื่อชุมชน โดยพื้นที่เชิงพาณิชย์ปรับขึ้นเป็นปกติตามสภาพตลาดที่ดิน ขณะที่นโยบายจะเน้นย้ำการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย ควบคู่กับการพัฒนาชีวิต โดยจะปรับขึ้นไม่เกินราคาเพดาน เพื่อแก้ไขปัญหาการเหลื่อมล้ำของราคาค่าเช่า เนื่องจากมีการเปลี่ยนมือของผู้เช่าเดิมไปให้เช่าต่อ ทำให้ราคาเพดานเช่าเพิ่มสูงขึ้น
 “เราถูกมองว่าเอาเปรียบผู้เช่ามาตลอด แต่เมื่อมองสภาพความเป็นจริง ราคาค่าเช่าถือว่าถูกมาก ตัวอย่างเช่นพื้นที่ยานนาวา ผู้เช่ารายแรกเสียค่าเช่าเพียง 300 บาทต่อเดือน ขณะที่มือ 2-3 ในบริเวณเดียวกัน เสียค่าเช่า 1,200 บาท และเมื่อปรับขึ้นจะถูกร้องเรียนว่าเพิ่มขึ้น 100-200% ดังนั้นนโยบายจึงค่อยๆ ปรับขึ้น โดยใน 3 รอบสัญญา หรือ 9 ปี จะปรับขึ้นให้เท่าราคาเพดาน” นายสมบูรณ์ กล่าว
 รวมทั้งยังมีมาตรการช่วย เหลือผู้เช่าในกรณีการพัฒนาที่ดิน ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 8 เดือน มอบเงินช่วยเหลือ มอบคูปองส่วนลด

"สวนลุมไนท์" ปิดดีลปลายปีนี้ นายสมบูรณ์ ยังกล่าวถึงกรณีข้อพิพาทระหว่างสำนักงานทรัพย์สินฯ และบริษัท พี.คอน. ดีเวลลอปเม้นท์ (ไทย) จำกัด อดีตผู้รับสิทธิการเช่าที่เดินบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเก่า จำนวน 127 ไร่ ศาลฎีกาได้ยืนคำตัดสินตามศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์เมื่อปลายปีที่แล้วให้สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นผู้ชนะคดี
 ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วส่วนหนึ่ง ได้แก่ การพัฒนาเป็นสถานทูต (Embassy Roll) บริเวณด้านทิศเหนือของที่ดิน ซึ่งขณะนี้สถานทูตออสเตรเลียได้เช่าพื้นที่จำนวน 10 ไร่ ติดกับสถานทูตญี่ปุ่น โดยคาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้ก่อสร้างได้ในไตรมาส 2 ปีนี้ ทั้งยังมีสถานทูตอีก 1-2 แห่งติดต่อเพื่อขอเช่าเช่นที่ดินเช่นกัน
 นอก จากนี้รัฐบาลฝรั่งเศสยังได้เช่าที่ดิน Embassy Roll ฝั่งใต้ เพื่อก่อสร้างเป็นโรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศสและศูนย์วัฒนธรรม (Alliance Francaise) ซึ่งขณะนี้เริ่มการก่อสร้างแล้ว และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ต้นปี 2556

 ขณะที่บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็นที่เป็นผู้ชนะการประมูลเมื่อปี 2550 จำนวน 40 ไร่ ยังคงสิทธิเดิม แต่อาจต้องปรับคอนเซปต์การพัฒนาโดยเพิ่มส่วนอาคารสำนักงานขึ้น จากเดิมมีเพียงศูนย์การค้าและโรงแรม ซึ่งจะเริ่มการก่อสร้างได้ปลายปีนี้

บางกอกบาซาร์, ซ.ต้นสนเริ่มปลายปี ส่วนพื้นที่ย่านหลังสวน ใน ซ.ต้นสน 1-6 จำนวนเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ให้บริษัท วังสินทรัพย์ บริษัทในเครือเพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยแนวดิ่ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคืนที่ของผู้เช่า โดยผู้เช่ารายสุดท้ายจะคืนพื้นที่ได้เดือน ส.ค.นี้ ซึ่งการพัฒนาจะแบ่งออกเป็นเฟส เฟสแรกจะเริ่มพัฒนาก่อนบริเวณ ซ.หลังสวน 1 จำนวน 3 ไร่ปลายปีนี้ และคาดว่าสร้างเสร็จปี 2557
 ขณะที่พื้นที่บริเวณบางกอก บาซาร์เดิม ได้คัดเลือกผู้พัฒนา บริษัท เอส.พี.ที. แมเนจเมนท์ จำกัด ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยประกอบด้วยศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรมและเรสซิเด้นท์ เนื้อที่ 1.65 แสนตารางเมตร ทั้งยังมีถนนช่วยระบายการจราจรระหว่าง ถ.ราชดำริ และ ถ.ชิดลม โดยจะเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้
 ส่วนที่ดินบริเวณสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิริ นทร์ ถ.ราชดำริ บริษัท แมกโนเลีย ไฟนเนสท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับสิทธิผู้พัฒนาเป็นโครงการคอมเพล็กซ์ผสมผสาน ทั้งคอนโดมิเนียมพักอาศัย และโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว
โละที่ดินกองสลาก-รอชัดเจนองค์การเภสัช ด้านนางวี นา โปรานนท์ หัวหน้าโครงการพิเศษ กล่าวว่า ที่ดินกองสลากในปัจจุบันจะปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะและศูนย์การเรียนรู้ โดยกองสลากจะย้ายไปยังสนามบินน้ำเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ จะเริ่มดำเนินการได้ปลายปีนี้
 นายชูศิริ คัยนันทน์ หัวหน้าฝ่ายอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ที่ดินขององค์การเภสัชเนื้อที่ 30 ไร่ บริเวณ ถ.พระราม 6 ขณะนี้เหลือสัญญาอีก 15 ปี ซึ่งองค์การเภสัชมีแผนการย้ายสำนักงานและโรงงานไปย่านรังสิต ทำให้ที่ดินเกิดการว่างเปล่าขึ้น อย่างไรก็ตามขณะนี้ ยังไม่ได้รับการติดต่อจากองค์การเภสัช แต่การดำเนินการใดก็ตามจะต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ก่อน

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ซีพีเอ็น CPN เพิ่มทุน130ล้านหุ้น แตกพาร์50สต.


วันที่ 4 มีนาคม 2556 15:01
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


ซีพีเอ็นประกาศแผนเพิ่มทุนไม่เกิน 130 ล้านหุ้น ขายนักลงทุนสถาบัน/บุคคลในวงจำกัด พร้อมแตกราคาพาร์จาก 1 บาท เหลือ 0.50 บาท/หุ้น

คณะกรรมการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (CPN) มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (ราคาพาร์) จาก 1 บาทต่อหุ้น เป็น 50 สตางค์ต่อหุ้น รวมทั้งอนุมัติแผนการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) จำนวนไม่เกิน 130.4 ล้านหุ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ ซึ่งคิดเป็นจำนวนไม่เกิน ร้อยละ 2.9 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเพิ่มทุน ทั้งนี้ การเพิ่มทุนจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินของ ซีพีเอ็น และตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกของไทย
ซี พีเอ็นจะขออนุมัติเพื่อเปลี่ยนแปลงราคาพาร์ จากเดิมหุ้นละ 1 บาท เป็นหุ้นละ 50 สตางค์ โดยภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงราคาพาร์ จำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน จำนวน 2,178,816,000 หุ้น เป็นจำนวน 4,357,632,000 หุ้น

ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงราคาพาร์ บริษัทมีแผนที่จะออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 130.4 ล้านหุ้นให้แก่นักลงทุนสถาบัน และ/หรือ บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) โดยการกำหนดราคาเสนอขายจะใช้วิธีการ Bookbuilding ซึ่งเป็นการสำรวจความต้องการซื้อหุ้นจากนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ เงินทุนที่ได้จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ ซีพีเอ็น จะนำไปลงทุนในโครงการใหม่ๆ เพิ่มเติมจากที่ได้เคยเปิดเผยให้ทราบแล้ว

นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ซีพีเอ็น เป็นบริษัทมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (Growth-Driven Company) และมีส่วนสําคัญในการพัฒนาและสร้างความเจริญให้กับประเทศและสังคมไทย การพัฒนาโครงการต่างๆ ของเรามีส่วนช่วยสร้างการเติบโตให้กับประเทศในหลายด้าน ทั้งในการนําพาเศรษฐกิจ สร้างการเติบโตให้ GDP ของประเทศ สร้างความเจริญให้ชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ นำไปสู่การลงทุนอื่น ๆ ทั้งโครงการที่อยู่อาศัย โครงการอสังหาริมทรัพย์และการพาณิชย์ ทั้งนี้ ซีพีเอ็น มุ่งสร้างการเติบโตโดยพิจารณาถึงโอกาสการลงทุนในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดมา บริษัทตั้งเป้าหมายว่าโครงการต่างๆ ที่เราลงทุนจะสร้างประสบการณ์แห่งความสุขในระดับโลกให้กับผู้ใช้บริการของ เรา รวมถึงสร้างผลตอบแทนที่ดีต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท"

“เราเชื่อว่าช่วงเวลาขณะนี้เหมาะสมสำหรับการเพิ่มทุน ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ ซีพีเอ็น เพื่อรองรับโอกาสการลงทุนเพิ่มเติม พร้อมทั้งการรักษาวินัยทางการเงินของบริษัท และด้วยความเป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกของไทย บริษัทได้สร้างการเจริญเติบโตและผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา" คุณกอบชัยกล่าวเสริม

การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (ราคาพาร์) แผนการเพิ่มทุน และการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ดังกล่าวจะนำเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมสามัญของผู้ถือหุ้นประจำปี 2556 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว (ฝั่งพลาซ่า) ในวันที่ 26 เมษายน 2556 ณ เวลา 14.00 น.

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

CPN เตรียมตัวลงทุนพม่า ปี 2015

เซ็นทรัลพัฒนา CPN เตรียมตัวลงทุนเปิดศูนการค้าในพม่า ปี 2015 รอความชัดเจน การเจรจาเรื่องที่ดิน


     สำหรับปี 56 บริษัทจะเปิดศูนย์การค้าใหม่อีก 3 ศูนย์ จากนโยบายที่จะเปิดศูนย์การค้าเฉลี่ยให้ได้ปีละ 3-4 ศูนย์ ตามเป้าหมายที่จะให้มีศูนย์การค้าครบ 30 แห่ง ในปี 58 หรือมีพื้นที่เช่ากว่า 1.5 ล้านตารางเมตร จากสิ้นปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.14 ล้านตารางเมตร สำหรับเงินลงทุนในปีหน้าอยู่ที่ประมาณ 1.45 หมื่นล้านบาท และในปี 57 และปี 58 จะใช้ 1.5 หมื่นล้านบาท และ 1.15 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่แผนงานในระยะ 5 ปี ตั้งเป้ารายได้จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 15%

     สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือกับ I-Berhad เพื่อจะพัฒนาศูนย์การค้าที่สิงคโปร์และมาเลเซียนั้น เขา กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำดีลดิจิเจนท์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปสิ้นปีนี้ และหากสามารถที่จะตกลงกันได้ ปีหน้าก็คาดว่าจะมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการศึกษาที่จะลงทุนในอินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมทุน (Joint Venture)

โรงแรมฮิลตัน พัทยา หนึ่งในธุรกิจโรงแรมของ CPN


โรงแรมฮิลตัน พัทยา

 
 

ด้วยการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวบนทำเลทองใจกลางเมืองพัทยา โรงแรมฮิลตัน พัทยา โดยตัวอาคารสูง 34 ชั้น ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยาบีช ซึ่งเป็นศูนย์การค้าครบวงจรบนชายหาดธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โอบล้อมด้วยทัศนียภาพอันงดงามของชายหาดพัทยาและชายฝั่งทะเลอ่าวไทยทั้งทาง ด้านทิศเหนือและทิศใต้


 จุดเด่นของโรงแรม

    • ตั้งอยู่ตรงกลางชายหาดพัทยาโดยตัวอาคารเชื่อมตรงสู่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยาบีช 
    • ห้องพักขนาดไม่ต่ำกว่า 46 ตารางเมตรพร้อมระเบียงส่วนตัวชมวิวทะเล 180 องศา
    • ห้องอาหารและเครื่องดื่ม ทั้ง 5 ห้องรวมถึงห้องอาหารและบาร์บนชั้นดาดฟ้าแห่งเดียวของพัทยาที่อวดทัศนียภาพอันสวยงามของเมืองพัทยา
    • สัมผัสความหรูหราสะดวกสบายอย่างเหนือชั้นและบริการชั้นเลิศพร้อมวิวพาโนรามาของทะเลพัทยาที่ชั้นผู้บริหาร ณ ชั้น 33
    • เตียงนอนชั้นเลิศ Serenity bed โทรทัศน์จอแอลซีดีขนาด 37 นิ้วในระบบภาพความละเอียดสูงและไอโฮม (iHome) นาฬิกาปลุกพร้อมวิทยุ ที่สามารถเล่นได้กับไอโฟนและไอพ็อด ควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล

 CPN ธุรกิจโรงแรมในบริเวณโครงการศูนย์การค้าเป็นธุรกิจที่มีอุปสงค์ ส่งเสริมกันกับธุรกิจศูนย์การค้า และเป็นธุรกิจที่เพิ่มมูลค่าให้กับโครงการ ด้วยการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าเพื่อผลตอบแทนจากการ ลงทุนสูงสุด หลักการในการพิจารณาลงทุนที่สำคัญประกอบด้วย ทำเล ที่ตั้งของโครงการ อุปสงค์ อุปทาน และสภาวะแวดล้อมของบริเวณนั้นๆ รวมถึงศักยภาพการเติบโตของโครงการ 

ทั้งนี้ ธุรกิจโรงแรมประกอบ ด้วยห้องพัก ห้องสัมมนาและศูนย์ประชุม เพื่อรองรับการเติบโตของ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม MICE: Meeting Incentive Convention and Exhibition (การจัดการประชุมเชิงธุรกิจ การค้าและ จัดแสดงสินค้านานาชาติ) ปัจจุบัน CPN เป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมจำนวน 2 แห่ง คือ 

โรงแรมเซ็นทารา อุดรธานี ซึ่งมีขนาด 255 ห้อง (เดิมคือ โรงแรมเจริญศรี แกรนด์ รอยัล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเจริญศรี คอมเพล็กซ์ที่ CPN ได้เข้าซื้อกิจการในเดือนเมษายน ปี 2552) และ 

โรงแรมฮิลตัน พัทยา บีช ซึ่งมีขนาด 300 ห้อง (ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับ โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช เริ่มเปิดให้บริการใน เดือนพฤศจิกายน 2553) 

ทั้งนี้ CPN ได้ว่าจ้างให้บริษัทที่มีความชำนาญ ด้านการบริหารโรงแรม คือ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำกัด (มหาชน) และบริษัท ฮิลตัน โฮเต็ล คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้บริหารโรงแรม เซ็นทารา อุดรธานี และโรงแรมฮิลตัน พัทยา บีช ตามลำดับ เพื่อการ บริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

อัตราการเช่าพื้นที่ CPN สิ้นปี 2555

อัตราการเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า และ อาคารสำนักงาน สิ้นปี 2555





CPNCG กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท


    กองทุน CPNCG จัดตั้งขึ้น เมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2555 โดยการเช่าอสังหาริมทรัพย์อาคารสำนักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ระยะเวลา 20 ปี ทั้งนี้หน่วยลงทุนมีการซอื้ ขายอย่างเป็ นทางการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2555 ซึ่ง 

การลงทุนนแี้บ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังรายละเอียดต่อไปนี้


กำไรจากการใหเ้ช่าภายใตสั้ญญาเช่าการเงิน 1,776 ล้า้นบาท จากการนำอาคารสำนักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอทเซ็นทรัลเวิลด์ เข้า้กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG) โดยบันทึกกำไรจากการใหเ้ช่าภายใตสั้ญญาเช่าการเงิน 1,602 ลา้ นบาทในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 และ 174 ลา้ นบาท ในไตรมาสที่4 ปี 2555

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) CPN
106,660,000 หุ้น คิดเป็น 25%

ศาลชั้นต้นตัดสินให้ CPN ชนะคดี ฟ้องเรียกค่าเสียหาย เพลิงไหม้เซ็นทรัลเวิลด์เมื่อปี 53 มูลค่า 3700 ล้าน

CPN แย้มศาลฯให้ บ.ประกันจ่ายสินไหมเพลิงไหม้ รวม3.7 พันลบ. 

ข่าวหุ้น วันศุกร์ที่ 01 มีนาคม 2556 เวลา 14:24:23 น.

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า วันนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้บริษัทชนะคดีที่ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีเหตุเพลิงไหม้โครงการเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อปี 53 กับบริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) ชำระเงินค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนเงิน 2.72 พันล้านบาท รวมทั้งค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากการขาดรายได้ 989.85 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี เป็นมูลค่ารวม 3.7 พันล้านบาท นับแต่วันที่ 31 มี.ค.54 เป็นต้นไป จนกว่าเทเวศประกันภัยจะชำระเงินดังกล่าว ครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม เทเวศประกันภัยสามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และสามารถขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลฯ

ทั้งนี้ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เป็นหนึ่งในโครงการศูนย์การค้าหลักของ CPN โดยศูนย์การค้าดังกล่าวถูกเพลิงไหม้จากเหตุจลาจลทางการเมืองในช่วงเดือน พ.ค.53