วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Confirmed: Bangkok’s Central Group will open mall in Shah Alam’s i-City


Posted on


By DANIEL KHOO | danielkhoo@thestar.com.my

I-Bhd executive chairman Tan Sri Lim Kim Hong (left) and CPN Global Co Ltd president and CEO Kobchai Chirathivat at the joint venture signing between I-Bhd and CPN of Thailand. I-Bhd and CPN will jointly build a 1.5 million sq ft mall in I-Bhd’s flagship development i-City with a gross development value of RM580mil.

SHAH ALAM: Property developer I-Bhd and Thai mall specialist CPN Global Company Ltd have entered into a joint venture to build a 1.5 million sq ft mall in I-Bhd’s flagship development i-City with a gross development value of RM580mil.
I-Bhd would have a 40% stake via i-City Properties Sdn Bhd (ICP) in the joint venture while CPN would have the remainder stake via two locally incorporated companies – CPN Real Estate Sdn Bhd and CPN Malls Malaysia Sdn Bhd.
Construction for the mall will begin next year and is targeted for completion by the end of 2016.

“We are honoured to spur the economy with this agreement, more so given that this is the first fruits of foreign direct investments for the country after the May 5 general election,” founder and executive chairman of I-Bhd Tan Sri Lim Kim Hong said at the signing ceremony to mark the joint venture yesterday.
“At the end of the day, we envisage our shopping mall being a regional shopping paradise that is capable of boosting both the economic development of Shah Alam and Selangor as a whole,” Lim added.

CPN Real Estate, CPN Malls Malaysia and ICP would also enter into a shareholders agreement for the purpose of acquiring a part of the land in i-City to develop the mall.
The mall would be developed on a freehold plot of land measuring 11.12 acres with gross floor area of about 1.5 million sq ft and net leasable areas of 1 million sq ft.
The development marks CPN’s first foray into Malaysia.

“This important decision marks CPN’s first strategic move in Asean and our confidence in the Malaysian economy,” said CPN president and chief executive officer Kobchai Chirathivat.
CPN, according to a press statement, is the largest specialist developer and manager of large-format and integrated shopping centres established in June 1980 and listed since March 1, 1995 on the Stock Exchange of Thailand.

“We believe ICP’s expertise in construction management as well as local market understanding and strong government relations will greatly contribute to the success of this project. In the same way, CPN will contribute our expertise in retail property development to make this project a great success,” Chirathivat said.

The joint venture would be led by CPN while I-Bhd chief executive officer Datuk Eu Hong Chew said the company’s focus would be on developing the rest of i-City.
“We pass it to the experts as we want to focus on developing the rest of i-City. They will take the lead in design, building and managing the mall,” Eu said.

Meanwhile, I-Bhd posted a huge increase of RM4.92mil in net profit for the first quarter ended March 31 compared to RM819,000 a year ago on revenue which rose by 213.82% to RM27.14mil. It said in an announcement to Bursa Malaysia that the earnings were mainly due to profit recognition from ongoing projects of the property development division and the introduction of more theme park games under the leisure division.

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

 บล.เคจีไอ : CPN แนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐาน ที่ 60.00 บ.
แนวโน้มยังคงสดใส
สรุปประเด็นสำคัญ และข่าวล่าสุด
- คงคำแนะนำซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 60 บาท
- คาดว่าอัตราการเช่าพื้นที่จะสูงกว่า 90% จากการเปิดห้างใหม่ในปีนี้
- มีโครงการที่มีศักยภาพสูงรออยู่อีกหลายโครงการ
- คาดว่าผลประกอบการปี 2556 จะแข็งแกร่ง

คงคำแนะนำซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 60 บาท

ในการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ ผู้บริหารได้เล่าถึงผลประกอบการไตรมาสที่ 1/56 ซึ่งดีกว่าที่คาด โดยได้ชูประเด็นเรื่องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของค่าเช่าพื้นที่ และอัตราการเช่าพื้นที่ซึ่งสูงถึง 96% สำหรับในปีนี้ ผู้บริหารตั้งเป้าที่จะเปิดห้างใหม่อีก 3 แห่งโดยมีอัตราการเช่าพื้นที่เกินกว่า 90% จากการที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นผู้เช่าพื้นที่ โดยในปัจจุบันบริษัทได้ประกาศว่ามีโครงการ 5 โครงการที่อยู่ในแผนงานในขณะที่เราคาดว่าจะมีเพิ่มอีกหนึ่งแห่งในปี 2557 ซึ่งคาดว่าบริษัทจะประกาศในภายหลัง ทั้งนี้ผู้บริหารยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการขยายกิจการซึ่งทางบริษัทจะ เปิดห้างใหม่ 7 แห่งในสามประเทศภายในปี 2563 จากประมาณการในปัจจุบันของเราซึ่งรวมคำนวณห้างที่เปิดใหม่ถึงแค่เพียงปี 2557 เราคาดว่ากำไรของบริษัทในช่วง 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 13% CAGR และเรายังคงประมาณการกำไรปกติปี2556 เอาไว้ที่ 5.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.5% YoY เราคงคำแนะนำซื้อโดยให้ราคาเป้าหมายที่ 60 บาท ซึ่งคำนวณโดยวิธี DCF เอาไว้ที่ 60 บาท

คาดว่าอัตราการเช่าพื้นที่จะสูงกว่า 90% จากการเปิดห้างใหม่ 3 แห่ง ในปีนี้CPN ได้เปิดศูนย์การค้าใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 เมษายน คือเซ็นทรัลพลาซ่าอุบลราชธานี โดยมีอัตราการเช่าพื้นที่ตอนเปิดห้างสูงถึง 91% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 70-80% ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารก็มีความมั่นใจว่าห้างอีกสองแห่งที่จะเปิดในไตรมาสที่ 4/56 ซึ่งได้แก่ เซ็นทรัล เฟสติวัลเชียงใหม่ และเซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่ ก็จะมีอัตราการเช่าพื้นที่อยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งถึงตอนนี้ สัดส่วนยอดจองพื้นที่ต่อจำนวนพื้นที่ปล่อยเช่าทั้งหมดของทั้งสองห้างอยู่ที่ 75% และ 70% ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการตอบรับอย่างดีเยี่ยมของกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นผู้เช่า พื้นที่มีโครงการที่มีศักยภาพสูงรออยู่อีกหลายโครงการ

ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีแผนเปิดห้างใหม่หลายแห่งแล้วในปี 2556 แต่บริษัทก็ยังมีแผนที่จะเปิดเพิ่มอีก 3 โครงการ โดยจะเปิด 2 โครงการในปี 2557 ซึ่งได้แก่เซ็นทรัล เฟสติวัล สมุย ซึ่งมีพื้นที่ปล่อยเช่าทั้งหมด 1.93 หมื่นตารางเมตร โดยมีกำหนดเปิดในไตรมาสที่ 1/57 และเซ็นทรัลพลาซ่า ศาลายา ซึ่งมีพื้นที่ปล่อยเช่าทั้งหมด 3.39 หมื่นตารางเมตร โดยมีกำหนดเปิดในไตรมาสที่ 3/57 และอีกหนึ่งห้างคือเซ็นทรัล เวสต์เกต ซึ่งจะเปิดในไตรมาสที่ 2/58 นอกจากนี้ เรายังคาดว่าบริษัทจะเปิดห้างใหม่อีกหนึ่งแห่งในปี 2557 ซึ่งนาจะอยู่ในกระบวนการวางแผนพัฒนาโครงการอยู่ สำหรับในขณะนี้ โครงการที่แยกลุมพินียังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินการซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภาย ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยสรุปแล้วCPN มีแผนที่จะเปิดห้างใหม่อีก 7 แห่งใน 3 ประเทศภายในปี 2563

ความคืบหน้าของแผนการขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้บริหารได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับ I-City Properties SdnBhd (ICP) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ I-Berhad เพื่อร่วมจัดตั้ง Joint Venture ซึ่งCPN จะถือหุ้น 60% เพื่อพัฒนาโครงการศูนย์การค้าใน Shah Alam city ซึ่งอยู่ในรัฐ Selangor ของประเทศมาเลเซียโดยมีมูลค่าโครงการรวม 5.8 พันล้านบาท โครงการนี้จะพัฒนาอยู่บนที่ดินขนาด 11.12 เอเคอร์ (28 ไร่) โดยมีพื้นที่ปล่อยเช่ารวมทั้งสิ้น 8.97 หมื่นตารางเมตร โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ภายในปี 2557 และจะเปิดให้บริการได้ในปี 2559 นอกจากนี้ผู้บริหารยังได้เปิดเผยว่า CPN อยู่ในระหว่างการเจรจากับพันธมิตรเพื่อร่วมพัฒนาโครงการศูนย์การค้าใน อินโดนีเซีย และ เวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในปีนี้

ความสำเร็จในการเพิ่มทุนจะช่วยสนับสนุนแผนการขยายธุรกิจ

CPN ได้ขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 130.37 ล้านหุ้นโดยวิธี private placementให้กับนักลงทุนต่างประเทศ 60% และอีก 40% ให้กับนักลงทุนสถาบัน ที่ราคา50.75 บาทต่อหุ้น ซึ่งทำให้บริษัทได้เงินรวมแล้ว 6.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ผู้บริหารบอกว่าเม็ดเงินส่วนใหญ่ที่ได้จากการเพิ่มทุนรอบนี้ส่วนใหญ่ จะนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล และ เซ็นทรัลพลาซ่า ศาลายา

คาดว่าผลประกอบการปี 2556 จะแข็งแกร่ง

เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2556 เอาไว้ที่ 5.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น34.5% YoY ทั้งนี้การเปิดห้างใหม่สามแห่งและค่าเช่าพื้นที่ที่ขยับเพิ่มขึ้นน่าจะช่วย ให้รายได้ของ CPN เพิ่มขึ้น 14.7% YoY เป็น 1.92 หมื่นล้านบาท ในขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะเพิ่มขึ้นอีก 50 bps เป็น 44.2% ในปี 2556 จาก 43.7%ในปี 2555 ทั้งนี้ผลประกอบการในไตรมาสที่ 1/56 คิดเป็น 28% ของประมาณการกำไรปกติทั้งปีของเรา และเรามองว่าประมาณการของเรายังคงมี upside อยู่อีกเล็กน้อย แต่เรายังคงประมาณการเดิม โดยรอแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2/56 อีกครั้ง เนื่องจากเป็นไตรมาสนอกฤดูกาลขายของปี
    

นวพร เชื้อเมืองพาน เรียบเรียง

ที่มา: หุ้นอินไซด์


วันที่ : 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Central Pattana With 18% upside to our YE13 target price of Bt63

The Nation
Bualuang Securities May 15, 2013



Overnight placement

Central Pattana Plc (CPN)

What’s new?

Last night, private placements were made for 130.4m new shares and there were big lot sales of 83.4m existing shares (sold by Khunying Suchitra Mongkolkitti and Mrs Sukanya Promphan) to institutional and specific investors at a price of Bt50.75.

More trading liquidity = more value

The private placements of 130.4m shares (2.9% of paid-up capital) were expected, but the 83.4m shares (1.9% of paid-up capital) sold by two members of Chirathivat family surprised us. The sales by major shareholders might generate negative sentiment toward the stock in the short term, but they will also mean greater trading liquidity, which will ease liquidity risk and WACC.

Enhancing the growth profile

The share dilution of 2.9% is minimal. The proceeds of Bt6.6bn from the cash call should enable CPN to speed up its expansion. We expect the firm to soon announce new projects in addition to those (3-4 malls a year) under its current CAPEX plan, which would enhance its long-term growth profile further. As such, EPS dilution should be only a short-term phenomenon.

Spin-off gain still underway

Although net gearing has fallen to only 0.44x, the plan to spin off the Chiangmai and Ramindra properties to CPNRF remains in place (albeit delayed somewhat to late 3Q13 or early 4Q13). CPN still needs to monetize assets in order to finance huge CAPEX plans of Bt14-15bn/year in FY13-14 and around Bt10bn in FY15 (excluding the additional projects). We estimate a spin-off gain of about Bt3.8bn, to be booked in either 3Q13 or 4Q13.

BUY rating stands

With the private placements completed, we don’t see any obvious negative events that would put downward pressure on the share price within the next 12 months. Indeed, we expect positive new flows/events to prompt earnings forecast and valuation upgrades, such as new project announcements and spin-off gains. As such, if the share price were to decline to a level near the placement price, we think it would present a great opportunity to take or increase positions. With 18% upside to our YE13 target price of Bt63, our BUY rating stands.

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

i-City Mall Malaysia open 2016




I-Berhad signs MoU with Thai retail developer to set up i-City Mall



CPN ร่วมทุน I-BERHAD ผุดมอลล์ยักษ์ในมาเลเซีย



ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 พฤษภาคม 2556
 “ซีพีเอ็น” จ่อร่วมทุน I-BERHAD ยักษ์ใหญ่อสังหาฯ แดนเสือเหลือง พัฒนารีจินัลมอลล์ในรัฐสลังงอร์ มาเลเซีย มูลค่า 5.8 พันล้านบาท คาดเปิดบริการปี 2559 หวังใช้เป็นก้าวแรกทะยานสู่อาเซียน
      
       นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น (CPN) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมาในหนังสือแสดงความประสงค์เพื่อจะเข้าทำสัญญาร่วมทุนกับ I-City Properties Sdn Bhd หรือ ICP ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ I-Berhad ยักษ์ใหญ่ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมาเลเซีย โดยในการร่วมทุนที่จะเกิดขึ้น ICP จะถือหุ้นในสัดส่วน 40% และ CPN โดยบริษัทย่อยที่จะได้จัดตั้งขึ้นในประเทศมาเลเซียจะถือหุ้นในสัดส่วน 60% เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าแห่งแรกของซีพีเอ็นในมาเลเซียในรูปแบบรีจินัลมอลล์ มูลค่า 580 ล้านริงกิต หรือประมาณ 5,800 ล้านบาท ในโครงการ i-City ซึ่งเป็น Malaysia Cybercenter (MSC) เมืองเทคโนโลยีแห่งใหม่ของมาเลเซียในเขต 7 ของเมืองชาห์อลัม รัฐสลังงอร์
      
       ครั้งนี้นับเป็นครั้งสำคัญของ CPN กับก้าวแรกในการนำพาธุรกิจของเราไปสู่อาเซียน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เราบรรลุวิสัยทัศน์องค์กรในการก้าวไปเป็น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกระดับภูมิภาค เรามีความมั่นใจในเศรษฐกิจของมาเลเซีย และเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในประเทศนี้ที่กำลังเติบโตและมีความแข็งแกร่งใน ทุกด้าน โดยเฉพาะเมืองชาห์อลัม เมืองหลวงของรัฐสลังงอร์ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 600,000 คน และมีการเติบโตของกลุ่มคนชั้นกลางอย่างรวดเร็ว เราเชื่อมั่นว่าการบริหารโครงการก่อสร้างภายใต้ความเชี่ยวชาญ รวมถึงความเข้าใจตลาด และความสัมพันธ์อันดีกับภาครัฐของ ICP รวมถึงความเชี่ยวชาญของ CPN ที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกด้วยความเป็นผู้ นำของธุรกิจนี้ในประเทศไทยและมีศูนย์การค้าภายใต้การบริหารปัจจุบันรวม 21 แห่งทั่วประเทศ จะช่วยให้การพัฒนาศูนย์การค้าแห่งใหม่นี้ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
      
       การลงทุนพัฒนาศูนย์การค้าในรูปแบบรีจินัลมอลล์มูลค่าประมาณ 5,800 ล้านบาทในเมืองชาห์อลัม เมืองหลวงของรัฐสลังงอร์ มาเลเซีย เป็นการพัฒนาศูนย์การค้าบนที่ดินฟรีโฮลด์ขนาดกว่า 28 ไร่ มีพื้นที่โครงการทั้งหมด (GFA) ประมาณ 138,000 ตารางเมตร และมีพื้นที่ขาย (NLA) ประมาณ 89,700 ตารางเมตร โดย CPN จะควบคุมการออกแบบ พัฒนาศูนย์การค้า และบริหารศูนย์การค้าแห่งนี้ในฐานะบริษัทบริหารศูนย์การค้า ซึ่งที่นี่จะเป็นศูนย์กลางของไลฟ์สไตล์ทันสมัย ทั้งการชอปปิ้ง บันเทิง และเป็นศูนย์กลางการพบปะของชุมชนในเขตตะวันตกของรัฐสลังงอร์ การก่อสร้างศูนย์การค้าแห่งนี้คาดว่าจะเริ่มในปี 2557 และจะเปิดให้บริการในปี 2559
      
       สำหรับซีพีเอ็นเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย และเป็นบริษัทผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกของประเทศที่ มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานในประเทศไทย ปัจจุบันบริหารศูนย์การค้าทั้งหมด 21 แห่ง อาคารสำนักงาน 7 แห่ง โรงแรม 2 แห่ง และอาคารที่พักอาศัย 2 แห่ง
      
       ส่วน ICP เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในเครือของ I-Berhad ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ของมาเลเซีย ICP เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซา มาเลเซีย และเป็นผู้พัฒนาโครงการ i-City ซึ่งเป็นเมืองเทคโนโลยีแห่งใหม่ของมาเลเซียบนที่ดินฟรีโฮลด์พื้นที่ประมาณ 182 ไร่ ตั้งอยู่บนทางหลวงหลักของเมือง ซึ่งโครงการนี้ประกอบด้วยศูนย์การค้า อาคารสำนักงานไซเบอร์เซ็นเตอร์ สำนักงานของบริษัทชั้นนำ โรงแรม อาคารที่พักอาศัย และพื้นที่ค้าปลี

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

CPN ปี 2556-2560 มีเป้าหมายที่จะสร้างศูนย์การค้าทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศเพิ่มอีก 12 แห่ง ลงทุนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท

เซ็นทรัลพัฒนาฯ อสังหาฯ ตระกูลจิราธิวัฒน์

การเติบโตในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกอย่างเซ็นทรัล ของตระกูลจิราธิวัฒน์ ทำให้นอกจากการพัฒนาที่ดินสำหรับก่อสร้างห้างสรรพสินค้าแล้ว ตระกูลจิราธิวัฒน์ โดยจัดโครงสร้างธุรกิจในช่วงปี 2535

แยกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกมาจากธุรกิจค้าปลีกโดยตั้งบริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) เข้ามาดูแลการพัฒนาที่ดินเพื่อก่อสร้างศูนย์การค้าให้กับกลุ่มในขณะที่ บริษัท ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ดูแลเฉพาะการลงทุนในส่วนของห้างสรรพสินค้าภายใต้แบรนด์เซ็นทรัล

นอกจากการพัฒนาศูนย์การค้าเพื่อให้เช่าแล้ว บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) ยังพัฒนาส่วนของอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย และโรงแรม ในเครือเซ็นทรัลทั้งหมด ภายใต้การบริหารงานของทายาทรุ่นที่3 ของตระกูล กอบชัย จิราธิวัฒน์ ที่เข้ามารับผิดชอบการบริหารหลังปี 2540

หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 กลุ่มเซ็นทรัล ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารกิจการของกลุ่มอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้า ที่ดูแลในเรื่องของการบริหารจัดการห้างสรรพสินค้าของในเครือทั้งหมดที่มีทั้ง เซ็นทรัล โรบินสัน เซน กลุ่มโรงแรม ที่มีหน้าที่ในการบริหารกิจการธุรกิจโรงแรม และรับในการบริหารโรงแรมภายใต้ชื่อเซ็นทารา กลุ่มธุรกิจการค้าที่รับผิดชอบในการนำเข้าสินค้าแบรนด์ต่างๆ และร้านอาหารเข้ามาในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าที่รับผิดชอบโดย บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CRC) และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่รับผิดชอบในการก่อสร้างศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน และที่อยู่อาศัย

การจัดโครงสร้างกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายธุรกิจของกลุ่ม โดยเฉพาะส่วนของพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ทำให้ กลุ่มเซ็นทรัล มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากปี 2549 ที่เดิมมีศูนย์การค้าเซ็นทรัล เพียง 9 แห่งในปี 2540 กับพื้นที่ค้าปลีกประมาณ 500,000 ตารางเมตร เป็น 22 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด กับพื้นที่ค้าปลีกมากกว่า 3,252,200 ตารางเมตรในปี 2555

และในปี 2556-2560 บริษัทมีเป้าหมายที่จะสร้างศูนย์การค้าทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศเพิ่มอีก 12 แห่งมูลค่าเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท การขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างธุรกิจ แยกส่วนของอสังหาริมทรัพย์ออกมาต่างหาก ทำให้บริษัท สามารถที่จะระดมทุนได้ด้วยตัวเอง นับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 1 มีนาคม 2538 เป็นต้นมา นอกจากการระดมทุนในรูปของหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว บริษัทยังนำเอาศูนย์การค้าแต่ละแห่งที่สร้างขึ้นมาและมีรายได้จากการเช่า มาจัดตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นแหล่งทุนสำคัญที่รองรับกับการเติบโตของบริษัท โดยที่คงสัดส่วนหนี้ต่อทุนของบริษัทให้ไม่เกินอัตรา 2:1 โดยมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนอยู่ที่ 1.75:1 ณ สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2555

หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา กลุ่มเซ็นทรัล เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจค้าปลีก ด้วยแนวความคิดในการแยกการบริหารระหว่างส่วนที่การพัฒนาที่ดินออกจากการบริหารห้างสรรพสินค้า โดยให้แต่ละกลุ่มธุรกิจมีอิสระในการบริหารงานเป็นของตัวเอง ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มที่ต้องการจะขยายเครือข่ายและสาขาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย และขยายเครือข่ายออกไปในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการประหยัดจากขนาด (economy of scale) และนำเอาเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับบริษัทเพื่อใช้ในการขยายงาน แทนการกู้เงินจากสถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอารายได้ในอนาคตจากรายได้จากการเช่าพื้นที่ค้าปลีกของศูนย์การค้าแต่ละแห่งมาจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทำให้สามารถระดมทุนผ่านการออกหน่วยลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการขยายงาน

นอกเหนือจากการก่อสร้างศูนย์การค้าแล้ว บริษัทยังให้มุ่งพัฒนาโครงการที่สร้างรายได้จากการเช่าอย่างอาคารสำนักงาน รวมถึงบางทำเลยังพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียม เพื่อขายในพื้นที่ที่มีศักยภาพอาทิ ทำเลย่านบางนา และล่าสุดคือโครงการที่บางใหญ่ บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ก็นำมาพัฒนาทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน และคอนโดมิเนียม ซึ่งการพัฒนาพื้นที่แต่ละแห่ง กอบชัย เคยให้สัมภาษณ์ว่า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทไหนในแต่ละทำเลขึ้นอยู่กับโอกาสมากกว่า โดยเป้าหมายหลักของบริษัทคือการพัฒนาศูนย์การค้า แต่ถ้าทำเลมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นอาคารสำนักงาน โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย ก็จะพัฒนาไปตามความเหมาะสม โดยมีเป้าหมายให้บริษัทมีอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี จากรายได้รวม 2.0125 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 6.188 พันล้านบาท ในปี 2555

ความสำเร็จในการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เป็นผลมาจากการนำเอาบทเรียนจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มาใช้ในการบริหารงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารหนี้และทุน ด้วยการนำเอาเครื่องมือทางการเงินที่ใช้รายได้ในอนาคตมาขยายกิจการผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อลดต้นทุนดอกเบี้ยและความเสี่ยงทางการเงิน มาบริหารจัดการให้บริษัทสามารถต่อยอดเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและกลับมาเป็นผู้นำในตลาดค้าปลีกแซงหน้าคู่แข่งที่อยู่ในตลาดปัจจุบัน

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

CPN แตกพาร์ +10.1% บุ๊คกำไรขายสินทรัพย์ ดันงบไตรมาส 3 พีคสุด



ข่าวหุ้น วันอังคารที่ 07 พฤษภาคม 2556

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้นบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ปิดเที่ยงที่ 55.75 บาท บวก 3.75 บาท หรือ 7.21% มูลค่าการซื้อขาย 230.80 ล้านบาท ทั้งนี้ ราคาหุ้น CPN แกว่งตัวขึ้นรอบนี้จากระดับราคา 48.75 บาท ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีปรับตัวขึ้นแล้วกว่า 37% จากระดับราคา 40.63 บาท ในเชิงเทคนิคราคาหุ้นเข้าเขตซื้อมากเกินไป (RSI=77.36) ล่าสุดราคาหุ้น CPN ซื้อขายที่ระดับ P/E ที่ 36.61 เท่า และP/BV ที่ 8.94 เท่า 

ด้านข้อมูลจาก www.settrade.com ระบุว่า บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 3 แห่ง แนะนำ “ซื้อ” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 113.67 บาท

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ว่า คาดกำไรสุทธิ 1Q56 เติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจากค่าเช่าเพิ่มขึ้นและเปิดโครงการใหม่ ผลประกอบการจะขยายตัวต่อเนื่องใน 2Q56 และ สูงสุดของปีในช่วง 3Q56 จากการบันทึกกำไรจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ CPN มีศักยภาพเติบโตยั่งยืนจากการปรับขึ้นค่าเช่า และ การเปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น อุบลฯ เชียงใหม่ หาดใหญ่ เปิดปีนี้ สมุย ศาลายา เปิดปี 2557 และ Central Westgate บางใหญ่ เปิดปี 2558 เราคงคำแนะนำ ซื้อ  ให้ราคาเป้าหมาย (DCF) เท่ากับ 115 บาท 
(หลังแตกพาร์ราคาเป้าหมาย 57.50 บาท)

บล.กรุงศรีระบุในบทวิเคราะห์เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ว่า ปรับเพิ่มคำแนะนำจาก “ถือ” เป็น “ซื้อ” สำหรับ CPN และปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานขึ้นจากเดิม 21% มาอยู่ที่ 121 บาท (DCF) จากมุมมองที่ดีขึ้นต่อโอกาสเติบโตในระยะยาว นอกจากนี้เราได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 57-58 ขึ้น 2%-3% สะท้อนแผนการเปิดศูนย์การค้าใหม่สองแห่ง คาดผลประกอบการ 1Q56 ยังเติบโตทั้งจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ 2H56 มีแผนนำศูนย์การค้าอีก 2 แห่งเข้ากองทุนรวมสิทธิการเช่า ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนทั้งระยะสั้นถึงยาว

 CPN ปิดเย็น ที่ 57.25 บาท บวก 5.25 บาท หรือ 10.10 %

CPN เปิด 2 ​โปร​เจ็คใหม่ พร้อมเตรียมลุยอาเซียน มา​เล ​เซีย อิน​โดนี​เซีย ​และ​เวียดนาม


หนังสือพิมพ์​ไทย​โพสต์ -- ศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2556

CPN อัดงบกว่า 7,000 ล้านบาท ​เปิด 2 ​โปร​เจ็กต์ยักษ์ที่​เกาะสมุย​และศาลายา หวังรองรับ​การ​เติบ​โตของ​เศรษฐกิจ ​เล็งอีก 5 ปี บุกอา​เซียนมากขึ้น ตั้ง​เป้าสิ้นปีมีราย​ได้​โต 15%
นายกอบชัย จิราธิวิฒน์ กรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ บมจ.​เซ็นทรัลพัฒนา (ซีพี​เอ็น) ​เปิด​เผยว่า ยุทธศาสตร์บริษัทมี​แผน ลงทุน​เปิดศูนย์​การค้าปีละ 2-3 ​แห่ง ​ใช้งบลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ล่าสุด​เตรียมงบลงทุน 7,000 ล้านบาท ​เพื่อก่อสร้างศูนย์​การค้า​ใน 2 ​แห่ง คือ​เกาะ สมุย​และศาลายา ​โดยที่​เกาะ สมุยนั้นจะสร้างศูนย์​การค้าภาย​ใต้​แบรนด์ "​เซ็นทรัล​เฟสติวัล สมุย" ​ใช้งบลงทุนกว่า 3,100 ล้านบาท ตั้งอยู่บนหาด​เฉวง พื้น ที่ 37 ​ไร่ คาดว่าจะ​เปิด​ให้บริ ​การ​ได้​ในช่วง​ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 ​และมี​แผนขยาย​โครง​การ​เพิ่มขึ้น ​เพื่อจัด​ทำ​เป็น​โรง​แรมด้วยพื้นที่ประมาณ 2-3 ​ไร่ ​ซึ่ง​เจาะกลุ่ม​เป้าหมายนักท่อง​เที่ยวระดับบน (​ไฮ​เอนด์) ​ทั้งชาว​ไทย​และต่างชาติ
 
นายกอบชัย กล่าวว่า สำ หรับ​โครง​การ "​เซ็นทรัลพลาซา ศาลายา" ​ใช้​เงินลงทุนกว่า 3,900 ล้านบาท บนพื้นที่ 70 ​ไร่ สามารถจอดรถ​ได้​ถึง 2,000 คัน ​ซึ่ง​โครง​การดังกล่าวสามารถรอง รับ​การขยายตัวของ​เศรษฐกิจที่กำลังมี​การขยายตัวสู่ชาน​เมือง รวม​ถึง​การ​เติบ​โตทางด้าน​เศรษฐ กิจของจังหวัดนครปฐมที่มีตัว ​เลขที่สูงมาก มีประชากรที่ค่อนข้างมีฐานะอาศัยอยู่จำนวนมาก คาดว่าจะ​แล้ว​เสร็จพร้อม​เปิด​ให้บริ​การ​ได้​ใน​ไตรมาสที่ 3 ของปีหน้า ​และคาดว่าจะมีลูกค้ามา​ใช้บริ​การ​ไม่ต่ำกว่า 60,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ยังมี​แผนที่จะขยาย​โครง​การอีก 4 ​เฟส ​เพื่อรองรับ​การขยาย​การ​เติบ​โตของชุมชน​ในอนาคตอีกด้วย
อย่าง​ไร​ก็ตาม ภาย​ในอีก 5 ปีข้างหน้า บริษัทมี​แผนที่จะ ​เปิดศูนย์​การค้า​ในกลุ่มประ​เทศอา​เซียนอีก 2-3 ​แห่ง คือ มา​เล ​เซีย อิน​โดนี​เซีย ​และ​เวียดนาม ​ซึ่งทางบริษัทฯ มอง​เห็น​ถึงศักย ภาพอำนาจ​และประมาณ​ใน ​การซื้อของประชากร​ในประ ​เทศ​เหล่านี้มีอัตราที่สูง ​ซึ่งปัจจุ บันบริษัทมีศูนย์​การค้ากระจายอยู่ภาย​ในประ​เทศ​ทั้งสิ้น 10 จัง หวัด ​ในอนาคต​ก็มี​แผนที่จะขายต่อ​ไปอีก ​โดย​ในปี 2556 ตั้ง​เป้าราย​ได้​โตจากปีที่ผ่านมา 15%

นายกอบชัย กล่าว​ถึงกรณีพื้นที่สวนลุมพินี ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่าง​การปรับ​แผน ที่จะ​เสนอ​โครง​การ​ในช่วง​เดือน ส.ค.นี้ ส่วนผลจะ​เป็นอย่าง​ไรขึ้นอยู่กับ​เจ้าของพื้นที่ จะมี​ความสน​ใจ​ใน​โครง​การที่ทางบริษัทฯ ​เสนอ​ไปมากน้อย​เพียง​ใด ​แต่หากบริษัทฯ ​ได้พื้นที่​ในส่วนนี้ จะนับ​ได้ว่า​เป็น​โครง​การของซีพี​เอ็นที่​ใหญ่ที่สุด.

CPN เปิด​โครง 2 ​การยักษ์ ​เซ็นทรัล​เฟสติวัล สมุย ​และ ​เซ็นทรัลพลาซา ศาลายา มูลค่ากว่า 7,000 ล้าน


ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2556


วันนี้ บริษัท ​เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ​หรือ ซีพี​เอ็น ประกาศ “ก้าว​ใหม่ของซีพี​เอ็น” ​ในฐานะที่​เป็นองค์กรที่นำ​การขับ​เคลื่อน​เศรษฐกิจสำคัญของ​ไทย ​ซึ่งครั้งนี้ซีพี​เอ็น​เล็ง​เห็น​โอกาสทางธุรกิจ ประกาศ​การลงทุนบิ๊ก​โปร​เจค 2 ​โครง​การ​ใหม่มูลค่ารวมกว่า 7,000 ล้านบาท บน​โล​เคชั่นที่ดีที่สุดของประ​เทศ 2 ​แห่ง คือ ​เกาะสมุย ​ซึ่ง​เป็น​แหล่งท่อง​เที่ยวระดับ​โลกของ​ไทย กับ​โครง​การ “​เซ็นทรัล​เฟสติวัล สมุย” ​และอีก​โครง​การ คือ “​เซ็นทรัลพลาซา ศาลายา” บน​ทำ​เลศักยภาพสูง​แห่งอนาคตของกรุง​เทพฯ ​และปริมณฑลฝั่งตะวันตก พร้อมสร้างจุด​เปลี่ยนครั้ง​ใหม่ด้วย​การนำนวัตกรรม​การพัฒนาศูนย์​การค้า มาสร้างมูลค่า​เพิ่ม สร้าง​ความ​แตกต่าง​ให้กับตลาดรี​เทลของประ​เทศ​ไทยกับครั้ง​แรกของ​การ พัฒนาศูนย์​การค้า​ในรูป​แบบ Theme Mall ระดับ​โลกที่มี​ความครบครัน​และสมบูรณ์​แบบที่สุด ​ใน​ทำ​เลศักยภาพสูงของประ​เทศ ​เพื่อ​ให้ศูนย์​การค้า​เป็น Recreation Place ​ให้คนสามารถมาพักผ่อน ​ใช้ชีวิต​ในศูนย์​การค้า สามารถมา​เติม​เต็ม​ความสุขของ​การ​ใช้ชีวิต

คุณกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ ของซีพี​เอ็น กล่าวว่า “​การก้าว​ไปข้างหน้า​แต่ละครั้งของซีพี​เอ็นจะต้อง​เป็นก้าวที่สำคัญ​และ สร้าง​ความยิ่ง​ใหญ่ ​ซึ่งครั้งนี้​เรา​เล็ง​เห็น​โอกาสทางธุรกิจบน​โล​เคชั่นที่ดีที่สุด 2 ​แห่งของประ​เทศ ที่มีศักยภาพสูง ​ทั้ง​การขยายตัวของ​เมือง ​และกลุ่ม​เป้าหมายกำลังซื้อสูง ​ซึ่งจะ​เป็น​โอกาส​ใน​การสร้าง​การ​เติบ​โต​ให้กับธุรกิจ​ได้อย่างก้าวกระ​ โดด ​ซึ่งถือ​เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ซีพี​เอ็นจะต้องช่วงชิง​โอกาส​ใน​การ​เปิด ศูนย์​การค้า​ใน​ทำ​เลสำคัญของประ​เทศก่อน​ใคร นอกจากนี้อีกก้าว​ใหม่ของซีพี​เอ็น คือ ​การนำนวัตกรรม​การพัฒนาศูนย์​การค้ามาสร้างมูลค่า​เพิ่ม​ให้​แตกต่าง ​ซึ่ง​ในอนาคตศูนย์​การค้าของซีพี​เอ็นทุก​แห่ง จะมีรูป​แบบ​ใหม่ที่ต่างกัน​ไปทุกที่ ​เพื่อ​เป็น​การสร้างประสบ​การณ์​ใหม่ๆ ​เติม​เต็ม​ไลฟ์ส​ไตล์​การ​ใช้ชีวิต​ให้​ผู้บริ​โภคยุค​ใหม่มี​ความสุขยิ่งๆ ขึ้น”
​การพัฒนา​โครง​การ ​เซ็นทรัล​เฟสติวัล สมุย ถือ​เป็น​การช่วงชิง​โอกาสทางธุรกิจครั้งสำคัญของซีพี​เอ็น บน​ทำ​เลที่ดีที่สุด​แห่งหนึ่งของประ​เทศ ​เพราะ​เกาะสมุย ​เป็น Beach Destination ระดับ​โลกของ​ไทย ที่มี​การ​เติบ​โตทาง​เศรษฐกิจสูง​ในทุกด้าน ​การพัฒนา​โครง​การ ​เซ็นทรัล​เฟสติวัล สมุย จะ​เป็น​การ​เข้า​ไปต่อยอด​ความยิ่ง​ใหญ่ ​และสร้าง​การ​เติบ​โตอย่างก้าวกระ​โดด​ให้กับ​เกาะสมุย ที่มี​เทรนด์​การ​เติบ​โตของ​เศรษฐกิจ​เพิ่มขึ้นทุกปี ​ทั้งตัว​เลขนักท่อง​เที่ยว​ซึ่งส่วน​ใหญ่จะ​เป็นนักท่อง​เที่ยวจากประ​เทศ​ ใน​แถบยุ​โรป ออส​เตร​เลีย รัส​เซีย ​และจีนที่มีกำลังซื้อสูง นอกจากนี้ ​เกาะสมุยยังมี​การ​เติบ​โตของ​การพัฒนา​โครง​การที่อยู่อาศัยสำหรับ​เป็น บ้านพักตากอากาศสำหรับชาว​ไทย​และชาวต่างชาติ ​ทั้ง​โครง​การคอน​โดมิ​เนียมที่มีราคาตั้ง​แต่ระดับ 1 ล้านบาทขึ้น​ไป จน​ถึง Luxury Villa ที่มีราคาสูงกว่า 60 ล้านบาท

เซ็นทรัล​เฟสติวัล สมุย มีมูลค่า​การลงทุนกว่า 3,100 ล้านบาท ตั้งอยู่บน​ทำ​เลดีที่สุดบนหาด​เฉวง ​ซึ่ง​เป็น​แหล่งท่อง​เที่ยวยอดนิยม​และ​เป็นย่าน​เศรษฐกิจหลักของสมุย ที่มี​โรง​แรมชั้นนำอยู่รายรอบ ที่ตั้ง​โครง​การห่างจากสนามบิน ​เพียง 5 นาที ​และ 20 นาทีจากท่า​เรือ ​โครง​การตั้งอยู่บนที่ดินกว่า 37 ​ไร่ ขนาด​โครง​การ 90,000 ตร.ม. ​โครง​การนี้จะ​เป็นต้น​แบบ Theme Mall ​แห่ง​แรกของซีพี​เอ็น ที่มี​ความ​โดด​เด่นด้านดี​ไซน์​การออก​แบบระดับ​โลก ​ให้บรรยากาศ​การช้อปปิ้ง​ในส​ไตล์รีสอร์ท​ในคอน​เซ็ปต์ “Reminiscence of Southern Lifestyle” สอดรับกับ​ความ​เป็น​เมืองท่อง​เที่ยวระดับ​โลก สามารถรับอรรถรส​ใน​การช้อปปิ้ง​ไปพร้อมๆ กับ​การพักผ่อน ที่นี่จะ​เป็น​แลนด์มาร์ค​แห่ง​ใหม่ของสมุย ​เพื่อรองรับนักท่อง​เที่ยว ​ซึ่งมีจุด​เด่นที่มาตรฐาน​โครง​การระดับ​เวิลด์คลาส พร้อมด้วยสุดยอดสินค้า​และบริ​การตอบ​โจทย์นักท่อง​เที่ยว​ได้ครบครัน

​เซ็นทรัล​เฟสติวัล สมุย มีห้างสรรพสินค้า​เซ็นทรัล พร้อมด้วย Tops, PowerBuy, SuperSports, ​และ B2S ​เป็น Anchor หลัก ​เป็นศูนย์รวมร้านค้า​แบรนด์ชั้นนำ​ทั้ง​ไทย​และอิน​เตอร์กว่า 200 ร้านค้า มี​แบรนด์​แฟชั่นระดับ​โลก ​และ Night Bazaar รองรับนักท่อง​เที่ยว นอกจากนี้ ที่นี่จะ​เป็น Dining Destination ​แห่ง​ใหม่ที่รวมร้านอาหารหลากหลายรูป​แบบที่ตอบสนองทุก​ไลฟ์ส​ไตล์ ​เพียบพร้อมด้วย​เอน​เตอร์​เทน​เมนต์ ​โรงภาพยนตร์ ที่ทันสมัย ​และจะ​เป็นศูนย์กลาง​ใน​การจัดกิจกรรมระดับประ​เทศ ​เพื่อ​เป็น​การสนับสนุนส่ง​เสริม​การท่อง​เที่ยว ดึงนักท่อง​เที่ยวมาที่สมุยอย่างต่อ​เนื่อง มีกำหนด​เปิด​ใน​ไตรมาส 1 ปี 2557 ​และ​เมื่อ​เปิด​ให้บริ​การคาดว่า จะมี Traffic ต่อวันกว่า 35,000 คน

ด้าน ​เซ็นทรัลพลาซา ศาลายา มีมูลค่า​โครง​การกว่า 3,900 ล้าน มีพื้นที่​โครง​การขนาด 180,000 ตร.ม. บนพื้นที่​ใหญ่ 70 ​ไร่ บนถนนบรมราชชนนี ขนาด10 ​เลน บริ​เวณศาลายา ระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 5 ​และ 7 ​ซึ่งจะรองรับ​การขยายตัวของกรุง​เทพฯ ​และปริมณฑล ฝั่งตะวันตก ​ซึ่ง​เป็นศูนย์กลางที่อยู่อาศัยที่มี​ความหนา​แน่นสูง​ในปัจจุบัน ​เป็นศูนย์กลาง​การศึกษา ​แหล่งรวมคนรุ่น​ใหม่ ที่มีกำลังซื้อสูง ​และมี​แนว​โน้ม​การขยายตัวของ​เศรษฐกิจ​ในอนาคตจาก​แผนพัฒนา​เขต​เศรษฐกิจ​ ใหม่ รวม​ถึง​การขยาย​โครงข่ายคมนาคม​ในอนาคต นอกจากนี้ ที่นี่จะ​เป็นศูนย์​การค้าหลักที่รองรับกำลังซื้อของคน​ในจังหวัดนครปฐม ​เซ็นทรัลพลาซา ศาลายา จะ​เป็นศูนย์​การค้าขนาด​ใหญ่​ในรูป​แบบ “Theme Mall” ​แห่ง​แรก ที่มีสวน​โบทานิคประดับด้วยพรรณ​ไม้นานาชนิด ​ทั้ง​แนวราบ​และ​แนวดิ่ง ทั่ว​ทั้งศูนย์​การค้า ​โดด​เด่นด้วยดอกกล้วย​ไม้หลากพันธุ์​ซึ่ง​เป็น​เอกลักษณ์ของที่นี่ ภาย​ใต้​แนวคิด “Contemporary Botanical” นำบรรยากาศ Outdoor ​เข้า​ไป​ไว้​ในศูนย์​การค้า ​ให้บรรยากาศ​เหมือน​เดินช้อปปิ้งอยู่​ในสวน ​โดย มีกำหนด​เปิประมาณ​ไตรมาส 3 ปี 2557 ​และ​เมื่อ​เปิด​ให้บริ​การ​เราคาดว่า จะมี Traffic ต่อวันกว่า 60,000 คน

คุณยุวดี จิราธิวัฒน์ กรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ บริษัท สรรพสินค้า​เซ็นทรัล จำกัด กล่าวว่า “สำหรับ​โปร​เจ็ค​การ​เปิด​โครง​การ ​เซ็นทรัล​เฟสติวัล สมุย ​และ ​เซ็นทรัลพลาซา ศาลายา ทางห้างสรรพสินค้า​เซ็นทรัล​เอง มี​ความพร้อม​ใน​เรื่องของ​การคัดสรรสินค้า​และบริ​การที่ดี​และทันสมัยที่ สุด ​เพื่อตอบสนองทุก​ความต้อง​การของลูกค้าที่​แตกต่างกันของ 2 สาขา สำหรับสาขาสมุยนั้น มีพื้นที่ประมาณ 8,000 ตาราง​เมตร ถูกออก​แบบ​และตก​แต่งหน้าร้าน​ให้มี​ความ​โดด​เด่น​และทันสมัย ​เน้น​ความสด​ใส​และมีชีวิตชีวา ​เพื่อ​ให้​เข้ากับคอน​เซ็ปต์หลักของศูนย์​การค้าที่มี​การตก​แต่ง​ใน บรรยากาศ รีสอร์ทระดับ​โลก ​ให้ลูกค้าสัมผัส​ได้​ถึง​ความสะดวกสบาย​ในบรรยากาศ​แห่ง​การพักผ่อน กลุ่ม​เป้าหมายหลักคือกลุ่มนักท่อง​เที่ยวชาวต่างชาติ รวม​ถึงนักท่อง​เที่ยวชาว​ไทย​และคน​ในพื้นที่ ส่วนสาขาศาลายามีพื้นที่ประมาณ 24,000 ตาราง​เมตร มี​ทั้งหมด 4 ชั้น ​ซึ่งลูกค้ากลุ่ม​เป้าหมายของสาขานี้ ​เป็นกลุ่มครอบครัวรุ่น​ใหม่ กลุ่มวัย​ทำงาน​และกลุ่มวัยรุ่น ​โดยพื้นที่รอบๆ ห้างดังกล่าว ถือ​เป็น​ทำ​เลที่มีศักยภาพ​ใน​การ​เจริญ​เติบ​โตของ​เศรษฐกิจสูง มี​โครง​การที่อยู่อาศัย​ในระดับ A ​และ B+ จำนวนมาก รวม​ถึงสถานศึกษาชั้นนำอย่าง มหาวิทยาลัยมหิดล ​และมหาวิทยาลัย​เทค​โน​โลยีราชมงคล”

ทั้งนี้ ซีพี​เอ็นมองว่าจากนี้​ไป​เศรษฐกิจ​และ​การบริ​โภคของ​ไทยจะดีขึ้น รวม​ถึง​แนว​โน้มธุรกิจค้าปลีกมีสัญญาณที่ดีขึ้น​เรื่อยๆ ​เนื่องจากมีปัจจัย​เกื้อหนุน​ให้ธุรกิจขยายตัวหลายด้าน ​โดยซีพี​เอ็นมี​แผนขยายธุรกิจต่อ​เนื่องทุกปี ด้วย​เม็ด​เงินลงทุน​ไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท ​เพื่อขยายธุรกิจ​ให้​โต​แบบก้าวกระ​โดด ​เสริม​ความ​แข็ง​แกร่งขององค์กร ​โดยคาดว่าปีนี้บริษัทจะมีราย​ได้​เติบ​โตประมาณ 15% ​เมื่อ​เทียบกับปี 2555

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

เซ็นทรัลพัฒนา จัด​แถลงข่าว​เปิดบิ๊ก​โปร​เจค “ก้าว​ใหม่ CPN: The New Chapter”


ThaiPR.net

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2556 ​เวลา 10.00 น. 
   นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ บริษัท ​เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ​หรือซีพี​เอ็นจัด​แถลงข่าว​เปิดบิ๊ก​โปร​เจค “ก้าว​ใหม่ CPN: The New Chapter” ห้อง​โลตัส 5-6 ชั้น 22

​โรง​แรม​เซนทารา​แกรนด์​แอท​เซ็นทรัล​เวิลด์ ถนนพระราม 1 ​เขตปทุมวัน กรุง​เทพฯ
สอบถามรายละ​เอียด​เพิ่ม​เติมที่: มลทิพย์ ​เจนธรรมพัฒน์ 02-667-5555 ต่อ 4114 /ขวัญ​ใจ ​แตงบุตร 02-667-5555 ต่อ 4115 ​แผนกประชาสัมพันธ์ บริษัท ​เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ​โทร. 02-6675555 ​โทรสาร 0-2264-5575 Call Center 0-2635-1111 pr.ho@cpn.co.th Website: www.centralplaza.co.th

ประวัติ
 
ชื่อ-สกุล : นาย กอบชัย จิราธิวัฒน์

- เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ของ นายวันชัย และนางสุมาลี จิราธิวัฒน์
- ชื่อพี่น้อง
1. นางจินตนา บุญรัตน์ 

2. นายวัฒน์ จิราธิวัฒน์
3. นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ 

4. นายศักดิ์ชัย จิราธิวัฒน์ 
5. นายพิชัย จิราธิวัฒน์
 

- ภรรยาชื่อ นางนลินี จิราธิวัตน์ มีบุตร-ธิดา 2 คน
- ชื่อบุตร-ธิดา
1. ด.ช.พันธกร จิราธิวัฒน์
2. ด.ญ.นมิดา จิราธิวัฒน์

การศึกษา และดูงาน :
- MBA ที่ NORTEDAM UNIVERSITY INDIANA U.S.A. สาขา PUBLIC AD
- ปริญญาตรี นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :
- ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็ลทรัลเทรดดิ้ง จำกัด
- ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็ลทรัลเทรดดิ้ง จำกัด
- รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็ลทรัลเทรดดิ้ง จำกัด
- รองประธานกรรมการ ผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องครัว บริษัท เซ็ลทรัลเทรดดิ้ง จำกัด
- ผู้อำนวยการฝ่ายอาคาร และทรัพย์สิน บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา
- ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา
- รองกรรมการผู้จัดการใญ่ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา
- ปี 2545 กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

CPN กวาดนักช็อปอีสาน​เปิด​เซ็นทรัลพลาซา อุบลฯ

หนังสือพิมพ์บ้าน​เมือง -- อาทิตย์ที่ 7 ​เมษายน 2556



นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ บริษัท ​เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ​หรือ ซีพี​เอ็น กล่าวว่า ​เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี มีมูลค่า​การลงทุนกว่า 2,750 ล้านบาท ​เปิดตัวอย่าง​เป็นทาง​การ​ในวันที่ 5 ​เมษายนที่ผ่านมา

ถือ​เป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่มา​เติม​เต็มศักยภาพของซีพี​เอ็น​ใน​การ​เป็น​ เจ้าตลาดชาย​แดนอีสาน ครอบคลุมทุกจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ตั้ง​แต่​เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี ​เซ็นทรัลพลาซา ขอน​แก่น ​และ​เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี ​ซึ่งอุบลราชธานี ถือ​เป็นจังหวัดศูนย์กลางของภาคอีสานตอนล่างที่มีศักยภาพสูง​ในทุกด้าน
"ด้วยอัตรา​การ​เจริญ​เติบ​โตทาง​เศรษฐกิจที่สูงต่อ​เนื่อง สอดรับกับน​โยบาย​การกระจาย​ความ​เจริญ​ไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาล ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​การลงทุนพัฒนา​เส้นทาง​เศรษฐกิจ​และคมนาคมลุ่ม​แม่น้ำ​ โขงที่จะ​เป็น​แรงขับ​เคลื่อน​เศรษฐกิจสำคัญ นอกจากนี้ ที่นี่ยัง​เป็นประตู​เศรษฐกิจ​การค้า​และ​การท่อง​เที่ยวที่สำคัญที่จะ​ เชื่อม​โยงสู่อิน​โดจีน ​ทั้งลาว กัมพูชา ​และ​เวียดนาม รองรับ​การ​เติบ​โตทาง​เศรษฐกิจอย่างก้าวกระ​โดด​เมื่อ​เปิดประชาคมอา​เซียน ​หรือ AEC ​ในอนาคตอัน​ใกล้นี้ด้วย ​ซึ่ง​การ​เข้า​ไปลงทุนของซีพี​เอ็น​ในครั้งนี้จะ​เป็น​การกระตุ้น​เศรษฐกิจ ​และกระตุ้น​การจ้างงานอีกกว่า 3,000 อัตรา ​ซึ่งซีพี​เอ็นมุ่งหวัง​ให้ศูนย์​การค้าของ​เรา​เป็นศูนย์กลางของชุมชม ​และ​เป็นสถานที่ที่คน​ในท้องถิ่นสามารถ​เข้ามาดำ​เนินงานของชุมชน สร้างมูลค่า​เพิ่ม​ให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น พัฒนาฝีมือ​แรงงาน รวม​ถึงศักยภาพ​ใน​การค้าขาย ​และ​การดำ​เนินธุรกิจ"

เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี ​เป็นศูนย์กลาง​ไลฟ์ส​ไตล์ช็อปปิ้ง​เซ็น​เตอร์ที่ทันสมัย​และครบครันที่สุด​ ในภาคอีสานตอนล่าง มีมูลค่า​โครง​การกว่า 2,750 ล้านบาท ตั้งอยู่บนสุดยอด​ทำ​เล​ใกล้กับประตู​การค้า​และ​การท่อง​เที่ยวสู่อิน​โด จีน บนถนน​เลี่ยง​เมือง (ทางหลวง 231) มีขนาด​โครง​การกว่า 140,000 ตร.ม. บนพื้นที่ 76 ​ไร่ ที่นี่​เป็นศูนย์​การค้าที่มี​ความ​โดด​เด่นทุกด้าน มีรูป​แบบอาคารที่ล้ำสมัย​โดด​เด่นด้วย​การประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น​ เข้ากับสถาปัตยกรรมสมัย​ใหม่อย่างลงตัว
ด้านสินค้า​และบริ​การ​เพียบพร้อมด้วยร้านค้าปลีกชั้นนำ ​ทั้งห้างสรรพสินค้า​โรบินสัน, Tops Market, PowerBuy, SuperSports, B2S, OfficeMate ที่ทันสมัย​และมีสินค้าครบครัน ​เป็น​แหล่งรวม​แบรนด์ดังจากทั่วทุกมุม​โลกกว่า 200 ร้านค้า พร้อม​เต็มอิ่มอรรถรสกับ​แหล่งบัน​เทิงครบวงจร ​ทั้งอควา​เรียม​แห่ง​แรก​ในอุบลราชธานี ที่จะสร้าง​ความตื่นตาตื่น​ใจด้วยกองทัพปลาหายากกว่า 300 ตัว ที่จะมานำ​เสนอ​ความอุดมสมบูรณ์​แห่งท้องทะ​เลสู่​ใจกลาง​เมืองอุบลราชธานี ​และ​โรงภาพยนตร์ Major Cineplex ระบบดิจิตอลมาตรฐานระดับ​โลก 7 ​โรง รวม​ถึงสวนสนุก Fun Planet
สำหรับกลยุทธ์ตลาดของซีพี​เอ็น​ใน​การ​ทำตลาด​เปิดศูนย์​การค้า​เซ็นทรัล พลาซา อุบลราชธานี จะ​เน้น​การนำนวัตกรรม​การตลาด​ใหม่ๆ มา​ใช้ ​และสื่อสารสร้าง​การรับรู้​แบบครบวงจร รวม​ถึงนำดิจิตอล มาร์​เ​ก็ตติ้ง มา​เพิ่มมูลค่า​ให้กับ​แคม​เปญ​การตลาด มี​การผนึกกำลังกับพันธมิตร​ใน​การ​ทำ​โปร​โมชั่น​และสิทธิพิ​เศษต่างๆ ​และ​เนื่องจากศูนย์​การค้าของซีพี​เอ็น​เน้น​การตอบ​โจทย์ลูกค้าด้าน​ไลฟ์ส ​ไตล์ ด้วย​การนำปรากฏ​การณ์​ใหม่ของชีวิตล้ำสมัยมาตอบ​โจทย์​ไลฟ์ส​ไตล์ของ​ผู้ บริ​โภค ​ทั้ง​เทรนด์ศูนย์​การค้ารูป​แบบ​ใหม่ ​แบรนด์ยอดนิยม รวม​ถึง​ทำหน้าที่​เป็น Happiness Hub มอบประสบ​การณ์​ความสุขอย่างต่อ​เนื่อง ​ซึ่ง​เราคาดว่ายอด​ผู้มา​ใช้บริ​การต่อวันจะอยู่ที่ประมาณ 40,000 คน

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

Central Plaza Ubonratchathani Grand Opening 5 April 2013


เปิดวันแรก คนเยอะมาก รถติดหนัก ตามรูปเลยครับ







วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

CPN เล็งเข้าตลาดหุ้นสิงคโปร์ ขึ้นโมเดลแฮงเอาต์หมื่นตร.ม.


24 มี.ค. 2556 เวลา 09:17:12 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เซ็นทรัล พัฒนาเตรียมแผนงานเติบโตปี 2015-2020 เล็งแต่งตัวตั้งกองทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์หวังระดมทุนขยายสาขาต่าง ประเทศ พร้อมปรับพื้นที่ลานด้านหน้าออฟฟิศเซ็นทรัลเวิลด์ ขึ้นโปรเจ็กต์ใหม่ "แฮงเอาต์" เพิ่มพื้นที่รีเทล 1 หมื่น ตร.ม.ตอกย้ำไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ ดีเดย์พร้อมอวดโฉมปลายปี

น.ส.นภา รัตน์ ศรีวรรณวิทย์ รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการเงิน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น กล่าวถึงทิศทางธุรกิจว่า ยังคงเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ 2015 ด้วยการเติบโต 15% และเปิดสาขาใหม่ปีละ 2-3 สาขาต่อเนื่องด้วยงบฯลงทุนเฉลี่ย 1-1.3 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยตอนนี้อยู่ในช่วงของการเตรียมยุทธศาสตร์ของอีก 5 ปีข้างหน้า (2016-2020) ไม่เพียงทิศทางการระดมเงินลงทุนในประเทศด้วยการเพิ่มทุนและตั้งกองทุนจาก สาขาในประเทศ แต่ยังรวมถึงการลงทุนในสาขาต่างประเทศ ซึ่งเซ็นทรัลพัฒนามีความสนใจที่จะเข้าไปตั้งกองทุนที่สิงคโปร์ เพื่อระดมทุนรองรับการลงทุนและขยายธุรกิจของซีพีเอ็นในตลาดต่างประเทศใน อนาคต

ทั้งนี้ การขยายธุรกิจในตลาดต่างประเทศจะให้ความสำคัญที่ภูมิภาคอาเซียน โดยเริ่มใน 3 ประเทศหลักที่ให้ความสนใจ คือมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งความคืบหน้าการเข้าไปลงทุนในมาเลเซียหลังการเซ็นเอ็มโอยูกับพาร์ตเนอร์ ท้องถิ่น (ไอ-เบอฮาร์ด) ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการเจรจาเพื่อเข้ากระบวนการร่วมทุนและหาข้อสรุปสัดส่วน การถือหุ้น การบริหารจัดการและเงินลงทุนว่าจะเป็นอย่างไร จะเห็นข้อสรุปชัดเจนภายในปีนี้

ส่วนการลงทุนในตลาดเวียดนามและ อินโดนีเซียยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาตลาด ยังไม่ได้มีการเซ็นสัญญา คาดว่าน่าจะเป็นปีหน้าหรือปีถัดไปที่จะเห็นความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทุนในตลาดเมืองจีนยังคงมอนิเตอร์ดูจังหวะและโอกาสการลงทุนต่อไป เรื่อย ๆ แต่คงไม่ได้เป็นตัวหลักในการขยายตลาดต่างประเทศของเซ็นทรัลพัฒนา นอกจากนี้ได้เตรียมนำศูนย์การค้าสาขาเชียงใหม่และสาขารามอินทราเข้ากองทุนซี พีเอ็นอาร์เอฟภายในปีนี้ สำหรับกรณีที่ดินสวนลุมยังไม่อยากจะแสดงความเห็นอะไร รอให้ผู้ใหญ่มาชี้แจง แต่ที่บริษัทพอจะบอกได้ คือเซ็นทรัลไม่ได้เป็นคนบอกยกเลิกพื้นที่สวนลุม

"เรา ขอคุยกับทางสำนักทรัพย์สินฯก่อน ขอไปหารือกันอีกที ว่าจะเอาอย่างไร และไปกันอย่างไรต่อ เราสนใจที่จะเข้าชิง เพราะเดิมเราก็ได้อยู่แล้ว ส่วนจะไปในวิธีไหน ก็คงต้องมาว่ากันอีกที ส่วนในเรื่องของความพร้อมด้านเงินลงทุน เรามีพอ รวมถึงมีแผนเรื่องการเพิ่มทุนไว้ มีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเงินก็คงไม่ได้เป็นปัจจัย"

นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนาได้เริ่มปรับพื้นที่ลานด้านหน้าสำนักงานออฟฟิศเซ็นทรัลเวิลด์ (ตรงข้ามสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เพื่อเตรียมการก่อสร้างโครงการใหม่ส่วนต่อขยายเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งจะมีพื้นที่ขายเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 หมื่น ตร.ม. ด้วยการเพิ่มร้านอาหารกับแฟชั่น เพิ่มความหลากหลายและทางเลือกให้กับตลาด ซึ่งจะพร้อมเปิดให้บริการปลายปีนี้ เช่นเดียวกับการปรับรูปแบบการเช่าพื้นที่ใหม่ด้วยการลดสัดส่วนพื้นที่เช่า ระยะยาวลงและเพิ่มสัดส่วนการเช่าระยะสั้น 3 ปี แทน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารและจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพของ ตลาด

การขึ้นโปรเจ็กต์ 1 หมื่น ตร.ม. ส่วนต่อขยายเซ็นทรัลเวิลด์ดังกล่าว สอดคล้องกับแหล่งข่าว 1 ในรายที่เข้าร่วมเช่าพื้นที่โครงการนี้ขยายความว่า เซ็นทรัลพัฒนาต้องการจะพัฒนาโครงการนี้รองรับกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้า เป็นแหล่งนัดพบ พูดคุย แหล่ง "แฮงเอาต์" หลังเวลาเลิกงานของคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน และวัยรุ่น โดยรวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขนม แบรนด์แฟชั่นที่กำลังฮอตและเป็นที่นิยมทั้งในระดับโลกและในประเทศ รวมถึงแบรนด์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมาเปิดในเมืองไทยเข้ามารวมอยู่ตรงนี้

***เลื่อนงานแถลงข่าว*** เซ็นทรัลพัฒนา จัดงานแถลงข่าว “การประกาศการลงทุนครั้งสำคัญของซีพีเอ็น”


ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556
กรุงเทพฯ เซ็นทรัลพัฒนา

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนร่วม “ก้าวไปข้างหน้ากับซีพีเอ็น” ในการประกาศการลงทุนครั้งสำคัญล่าสุด เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตลาดรีเทลของประเทศไทย ซึ่งในงาน คุณวัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง ของ ซีพีเอ็น จะเป็นผู้ให้ข้อมูล ในวันพุธที่ 27 มีนาคม 2556 

เวลา 10.00-12.00 น. ณ CentralWorld Live ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ 
ตามกำหนดการดังนี้
 
10.30 น.           ลงทะเบียนสื่อมวลชน
11.00 น.           เริ่มงานแถลงข่าว
คุณวัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง
บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
11.45 น.           ผู้บริหารตอบข้อซักถามสื่อมวลชน
ถ่ายภาพหมู่ผู้บริหาร
11.50 น.           จบงาน

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

คุณวัลยา จิราธิวัฒน์ หญิงเก่งของ CPN


คุณวัลยา จิราธิวัฒน์

วัลยาเป็นลูกสาวคนที่ 21 ของเตียง จิราธิวัฒน์ ที่เกิดกับวิภา ภรรยาคนที่ 3 เป็นเจนเนอเรชั่น 2 ตอนปลาย ที่ผูกพันใกล้ชิดกับเจนเนอเรชั่น 3 ช่วงต้น อย่างกอบชัย จิราธิวัฒน์ ทศ จิราธิวัฒน์ และยุวดี พิจารณ์จิตร ซึ่งกำลังถ่ายทอดให้กับรุ่นที่ 3

 Education
-2547 อบรมหลักสูตรด้านการบริหารขั้นสูงสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ
-2528 ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์ทฟอร์ด สหรัฐฯ
-2527 ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลลิส (UCLA)
 

Career Highlights
-2556 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง ของ ซีพีเอ็น

-2548-ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
-2541-2547รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
-2539-2541 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต
-2531-2539 กรรมการผู้จัดการ เซ็นทรัล ซูเปอร์มาร์เก็ต
2528-2539 รองผู้อำนวยการ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
 

Family บิดา-มารดา เตียง-วิภา จิราธิวัฒน์ 

เธอให้สัมภาษณ์ ถึงแนวคิดในการทำงาน รวมถึงชีวิตส่วนตัวของเธอ ในฐานะมืออาชีพที่สั่งสมความรู้และประสบการณ์มาอย่างเคี่ยวกรำ น่าสนใจยิ่งนัก 

หลังคว้าปริญญาโท MBA จากสหรัฐฯ เธอเริ่มงานทันทีในวันแรกที่บินกลับมาถึงเมืองไทย ตามคำบอกของสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ พี่ชายคนโตของตระกูล กับตำแหน่งผู้จัดการซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาสีลม

“ต้องขอบคุณพี่สัมฤทธิ์มากที่ทำให้เราได้เรียนรู้ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือได้ว่าไดนามิกมากๆ โวลุ่มการขายสูงมาก แต่กำไรก็ต่ำ เป็นงานจุกจิก ที่ต้องอาศัยการตัดสินใจที่เด็ดขาด ฉับไว

เธอ ยอมรับว่า ความรู้สึกแรกที่ได้ทำไม่ดีนัก เพราะเรียนจบถึง MBA แต่ต้องมาทำซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ในที่สุดเธอก็ทุ่มเทให้กับการทำงาน เปลี่ยนแปลงระบบต่างๆให้เป็นสากล นำระบบบาร์โค้ดมาใช้ เปลี่ยนภาพลักษณ์ของซูเปอร์มาร์เก็ตเมืองไทยให้มีความทันสมัย
ระยะเวลา 12 ปีเต็ม กับการทำซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้เธอได้ทักษะที่ดีติดตัวมาไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องของการตัดสินใจ

“เป็นคน Systematic ตัดสินใจเร็ว มีหลักการคิดตัดสินใจที่ว่า การตัดสินใจถูกต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ถ้าตัดสินใจผิดบ้าง แต่ตรงเวลา กลับมองว่าดี เพราะหลายๆ คนไม่ยอมตัดสินใจก่อนและปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง เพราะเขาคิดว่าจะมีโซลูชั่นที่ดีกว่าในอนาคต แต่บางครั้งไม่ได้ คุณต้องตัดสินใจ เพราะมันคือโซลูชั่นที่ดีในในเวลานั้น...การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดา แต่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเพราะถ้าทำเหมือนเดิมมันสบาย แต่ส่วนตัวมองว่าต้องทำเพราะถ้าไม่ทำ ในที่สุดก็แพ้คู่แข่ง”

ผลจากความตั้งใจทำงาน ไม่ย่อท้อ บวกกับการเป็นคนตั้งใจทำงาน ทำอะไรทำจริง อดทนและพยายามทำให้ประสบความสำเร็จ ไม่ปล่อยปละละเลย ทำให้เธอได้รับมอบหมายให้ทำงานที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

“ผู้ใหญ่อาจเห็นถึงความตั้งใจ เห็นผลงานของเรา ทำงานมาตั้งแต่ปี 2528 เป็นเวลา 21 ปีแล้ว และผู้ใหญ่มักจะให้งานที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ งานนี้เหมือนเราเป็นคอนดักเตอร์ ต้องเมกชัวร์ว่าทุกอย่างเป็นไปตามกลยุทธ์เดียวกัน เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับรายละเอียด มีระบบคิดเป็นขั้นเป็นตอน คิดให้เป็นภาพใหญ่ไม่แยกส่วน”

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

CPN from Hard Topic Money Channel


ดูวันที่ 11 มีนาคม 2556
http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/programpage.php?listid=5

http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/programpage.php?listid=5

เซ็นทรัล สมุย สุราษฎร์ธานี ต้นปี 57

เซ็นทรัล สมุย 10/03/56

ข้อมูลจาก www.skyscrapercity.com ความคืบหน้าล่าสุด






วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

ต่างชาติไม่ชอบหุ้นไทยแล้วจริงหรือ? 1800 จุดจะไปถึงมั้ย

 กรุงเทพธุรกิจ : CEO Blogs

วันที่ 20 มีนาคม 2556 02:00
โดย : ไพบูลย์ นลินทรางกูร
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกันเช่นเคยทุกวันพุธที่สามของเดือน


ท่าน ผู้อ่านที่ไม่ได้ติดตามตัวเลขการซื้อขายหุ้นของต่างชาติอย่างใกล้ชิด คงสงสัยว่าทำไมผมถึงตั้งคำถามของบทความในวันนี้ของผมแบบนี้ เพราะที่ผ่านมา ดูเหมือนว่านักลงทุนต่างชาติน่าจะชื่นชอบตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างดี เพราะนอกจากตลาดหุ้นไทย จะให้ผลตอบแทนเป็นอันดับหนึ่งในเอเชียในปีที่ผ่านมา มาปีนี้ SET ก็ยังคงปรับตัวขึ้นมากกว่าทุกตลาดหุ้นในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ถ้าเทียบกับตลาดหุ้นทั่วโลก เรายังคงอยู่ในอันดับ Top Three ในด้านผลตอบแทนเหมือนกับเมื่อปีที่แล้ว

แต่ที่ผมต้องตั้งคำถามแบบนี้ เป็นเพราะตัวเลขการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สูงถึง 17,000 ล้านบาท ทำให้ตลอดเกือบ 3 เดือนนับจากต้นปี มีตัวเลขซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ เพียงแค่ 7,500 ล้านบาท หรือประมาณ 250 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าเม็ดเงินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ที่ไหลเข้าไปยังตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ และ อีกเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์ ที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ในช่วงเวลาเดียวกัน

ถ้าคิดในเชิงบวกแบบง่ายๆ การขายของต่างชาติในเดือนที่แล้ว ไม่น่าจะมีอะไรมากไปกว่าการปรับพอร์ตการลงทุน เพื่อรักษาน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยไม่ให้สูงเกินกว่าระดับที่ต้องการ การที่ตลาดหุ้นไทยเป็น Outperformer หรือปรับขึ้นมากกว่าทุกตลาดในเอเชียในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลทำให้สัดส่วนของหุ้นไทยในพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น ถ้าเดิมนักลงทุนมีน้ำหนักหุ้นไทยอยู่ที่ 10% ของพอร์ต เวลานี้สัดส่วนของหุ้นไทยในพอร์ตอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 15% เพราะราคาหุ้นไทยขึ้นมากกว่าหุ้นประเทศอื่น สมมุตินักลงทุนรายนั้นต้องการรักษาระดับของหุ้นไทยไว้ไม่ให้เกิน 12% ก็จำเป็นต้องมีการขายหุ้นไทยออกมาบางส่วน นี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งของการขายหุ้นในช่วงที่ผ่านมา

ถ้าจะดูกันแบบลึกลงไปอีกหน่อย ต้องเอาตัวเลขซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในเดือนที่แล้วมาแกะดูว่า เขาขายหุ้นในกลุ่มไหนออกมามากเป็นพิเศษ เพื่อจะได้วิเคราะห์หาสาเหตุของการขายในรอบนี้ จากการคำนวณของผมพบว่า Sector ที่มีแรงขายของต่างชาติมากที่สุดในเดือนที่แล้วคือ Property มียอดขายสุทธิเกือบ 12,000 ล้านบาท รองลงมาคือ Commerce ขายสุทธิ 9,000 ล้านบาท ตามด้วย ICT ขายสุทธิอีกเกือบ 5,000 ล้านบาท ขณะที่ด้านซื้อสุทธิจะเป็น Banking และ Energy ที่มียอดซื้อสุทธิรวมกันอยู่ที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท ตามด้วย Food ซื้อสุทธิอีกประมาณ 1,500 ล้านบาท

การได้เห็นตัวเลขชัดเจนแบบนี้ น่าจะเริ่มเห็นภาพแล้วว่า อะไรเป็นสาเหตุของการขายหุ้นอย่างหนักในเดือนก.พ. หุ้นที่ถูกขายโดยต่างชาติส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มที่เป็น Significant Outperformer หรือมีการปรับขึ้นของราคาหุ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก เช่น Property Sector ปรับขึ้นถึงกว่า 120% ใน 12 เดือนที่ผ่านมา มากกว่า SET Index ที่ปรับขึ้น 34% ถึงเกือบ 4 เท่า หรือ Commerce ที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเกือบ 200% ในช่วง 2 ปีนี้ และหุ้นส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ ซื้อขายกันที่ค่า Forward P/E ที่สูงกว่าตลาดค่อนข้างมากที่ 25-35 เท่า รวมถึง ICT ที่ปรับขึ้นเกือบ 150% ใน 2 ปี ดูเหมือนว่าราคาหุ้นส่วนใหญ่จะสะท้อนข่าวดีเรื่อง 3G มากแล้ว การที่แรงขายส่วนใหญ่ของนักลงทุนต่างชาติอยู่ในหุ้นกลุ่มที่เป็น Significant Outperformer และกลุ่มที่เริ่มมี Valuations ที่ดูแพง เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล เพราะนี่เป็นวิธีการปกติของการบริหารพอร์ตลงทุน ไม่ใช่สัญญาณว่าเขาไม่ชอบประเทศไทยแล้ว


ทีนี้เรามาลองดูฝั่งซื้อบ้าง จะเห็นว่าทั้ง 3 กลุ่มที่ต่างชาติซื้อเข้าพอร์ต เป็นกลุ่มที่ราคาหุ้นยังปรับขึ้นไม่มากนัก และไม่ได้ Outperform ตลาดมากมายเช่น Banking และกลุ่มที่เป็น Significant Underperformer เช่น Energy ที่ราคาหุ้นไม่ได้ปรับขึ้นเลยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา รวมไปถึง Food ที่ราคาปรับขึ้นเพียง 24% ซึ่งต่ำกว่า SET Index พอสมควร

สรุปง่ายๆ คือการขายของต่างชาติรอบนี้ เป็นเพียงการ Take Profit ในหุ้นที่ได้กำไรมาก และหุ้นที่เขาอาจจะดูว่าเหลือ Upside ไม่มาก และย้ายเงินเข้ามาลงทุนในหุ้นราคาถูกและหุ้นที่ Underperform การที่นักลงทุนต่างชาติ ยังคงซื้อหุ้นธนาคารพาณิชย์ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะหมายความว่า เขายังไม่ได้หมดความเชื่อมั่นประเทศไทย เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นคงไม่กล้าซื้อหุ้นธนาคาร หรือ หุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่ม Energy

ที่ค่อนข้างน่าสนใจคือ ถ้าดูตัวเลขการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติสะสมตั้งแต่ต้นปี (Year-to-Date) กลุ่มที่มียอดซื้อสุทธิ เป็นอันดับแรกคือ ICT (ซื้อสุทธิ 16,000 ล้านบาท) ไม่ใช่ Banking แสดงว่ายังมีต่างชาติอีกมากที่เชื่อว่ายังเหลือ Upside อีกเยอะในหุ้นกลุ่มนี้ ตามด้วย Banking (ซื้อสุทธิ 15,000 ล้านบาท) และ Energy (ซื้อสุทธิ 11,000 ล้านบาท) ขณะที่ฝั่งขายสุทธิอันดับต้นๆ ยังคงเป็น Property (ขายสุทธิ 17,000 ล้านบาท) และ Commerce (ขายสุทธิ 12,000 ล้านบาท)

จริงๆ แล้วตัวเลขเหล่านี้ สอดคล้องกับมุมมองของต่างชาติที่ผมได้พบที่ฮ่องกงเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ผมได้มีโอกาสร่วมไปกับคณะของนายกรัฐมนตรี และรองนายกฯ กิตติรัตน์ ณ ระนอง ในการเยือนฮ่องกงอย่างเป็นทางการ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและตลาดทุนไทย ให้กับนักลงทุนที่นั่นได้รับทราบ รวมไปถึงนักลงทุนในลอนดอนที่ผมได้เดินทางไปพบเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เกือบทั้งหมดของนักลงทุนที่ผมได้พบในทั้ง 2 ที่ ยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทย และจะสอบถามถึงเรื่องความคืบหน้าของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2 ล้านล้านบาทเป็นหลัก โดยประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ:

1.เงินที่จะใช้ลงทุนในโครงการนี้จะมาจากที่ไหน ซึ่งท่านรองนายกฯ ก็ได้ตอบอย่างชัดเจนว่าส่วนหนึ่งจะมาจากการกู้ในประเทศ และอีกส่วนหนึ่งจะมาจากภาคเอกชนจากนโยบาย PPP

2.การลงทุนมากขนาดนี้จะทำให้ต้องมีการก่อหนี้อย่างมากมายหรือไม่ ซึ่งทางผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะก็ยืนยันว่าระดับหนี้จะไม่เกิน 50% ของ GDP อย่างแน่นอน

3.จะมีมาตรการใดหรือไม่ที่จะนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการล่าช้าใน การดำเนินโครงการนี้ ซึ่งท่านรองนายกฯ ก็รับปากว่าจะดูแลให้เกิดขึ้นตามแผนที่วางไว้ให้ได้ และการที่ภาครัฐออกข่าวอย่างต่อเนื่องก็เป็นเหมือนการผูกมัดไปโดยปริยายว่า จะต้องทำให้ได้ตามแผน

นอกจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน นักลงทุนกลุ่มนี้ยังให้ความสนใจเป็นพิเศษกับแนวโน้มเงินเฟ้อของไทย รวมไปถึงนโยบายการเงินของแบงก์ชาติอีกด้วย โดยส่วนตัวแล้ว ผมยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกกับตลาดหุ้นไทย และยังเชื่อเหมือนเดิมว่าก่อนที่ Equity Supercycle รอบนี้จะจบลง มีโอกาสสูงมากที่เราจะได้เห็น SET Index ทำสถิติ New High ใหม่ที่เกิน 1,800 จุด

ย้อนอดีต




วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

สมาคมศูนย์​การค้า​ไทย คาดอีก 5 ปี มีมูลค่าลงทุน 1.2 ​แสนลบ.​เป็น 100 ศูนย์


สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2556

นายนริศ ​เชยกลิ่น รองกรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ สายงาน​การ​เงิน​และบัญชี​และสายงานบริหารทรัพย์สิน บมจ.​เซ็นทรัลพัฒนา(CPN) ​ในฐานะนายกสมาคมศูนย์​การค้า​ไทย คาดว่า​ใน 5 ปีจะมีมูลค่าลงทุนศูนย์​การค้า​ในประ​เทศ​ไทยสูง​ถึง 1.2 ​แสนล้านบาท ​และพื้นที่ศูนย์​การค้าจะ​เติบ​โตปีละ 15-20% ​หรือมีศูนย์​การค้ากว่า 100 ​แห่ง ​โดย​เทียบศูนย์​การค้า 1 ​แห่ง ต่อประชากร 5 ​แสนคน จากปัจจุบัน​ไทยมีศูนย์​การค้าที่​เปิดอย่าง​เป็นทาง​การ 74 ​แห่ง คิด​เป็น 1 ศูนย์​การค้าต่อประชากร 9 ​แสนคน ​เทียบกับประ​เทศญี่ปุ่นที่มีสัดส่วน 1 ศูนย์​การค้าต่อประชากร 4.3 หมื่นคน สะท้อนว่าตลาด​ใน​ไทยยัง​เติบ​โต​ได้อีกมาก


โดย​ในช่วง​ไตรมาส 4/55 ​ถึง​เดือน ม.ค. 56 ​ผู้ประกอบ​การ ​ได้​ใช้​เงินลงทุนศูนย์​การค้า​ทั้ง​ใหม่​และปรับปรุง 30 ​โครง​การ จำนวน​เงินลงทุนนรวม 1.5 หมื่นล้านบาท ​ซึ่ง​เป็นศูนย์​การค้า​ในกรุง​เทพ 9 ​โครง​การ ​เชียง​ใหม่ 10 ​โครง​การ นอกนั้น กระจาย​ในจ.ระยอง พัทยา นนทบุรี ภู​เ​ก็ต อยุธยา อุบลราชธานี ​เพชรบุรี ​และ หาด​ใหญ่ ​เป็นต้น
ขณะที่​การ​เปิดประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน(AEC) ตลาดค้าปลีก​ไทยขยาย​ใหญ่ขึ้นมาก ​โดยคาดว่านักลงทุนจากจีน ญี่ปุ่น จะ​เข้ามาลงทุน​ใน​ไทย ​ผู้ประกอบ​การควรจะรับมือ​การ​แข่งขัน​ทั้ง​เชิงรุก​และ​เชืงรับ
นายนริศ กล่วว่า สมาคมศูนย์​การค้า​ไทยต้อง​การยกระดับขีด​ความสามารถของ​ผู้ประกอบ​การศูนย์ ​การค้า​ไทย ​เพื่อมุ่งสู่​เป้าหมาย​เป็น Regional Shopping Hub รับ AEC ​แลก​เปลี่ยน​ความรู้​เรื่อ่ง​เทค​โน​โลยี กฎหมายข้อบังคับ ​และพฤติกรรมของ​ผู้บริ​โภคที่​เปลี่ยน​แปลงอยู่​เสมอ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ความร่วมมือด้านข้อมูล​เพื่อ​เพิ่มศักยภาพ​ใน​การ​แข่ง ขันของตลาด​ในประ​เทศ​ไทย ดึงดูด​ผู้ประกอบ​การต่างชาติ พร้อมสนองต่อ​การ​เปิดตลาด AEC ​ในปี 58

นอกจากนี้ ​ใน​โอกาสที่สมาคมศูนย์​การค้า​ไทยครบรอบ 15 ปี​ในปีนี้สมาคมฯ จะจัดงาน The 1st Thailand Shopping Center Symposium ​ใน​เดือน พ.ย. 56 ​เพื่อขยายองค์​ความรู้ธุรกิจศูนย์​การค้า ​และ​เชิญชวน​ผู้ประกอบ​การอื่นๆ มาร่วม​เป็นสมาชิก ​และกำหนดทิศทางธุรกิจ​ในปีหน้า
​ทั้งนี้ ฐานข้อมูลของสมาคมฯ จะมี​การ​แบ่งประ​เภทศูนย์ข้อมูลช้ด​เจน ​เพื่อ​ความ​เข้า​ใจที่ตรงกัน ​ทำ​ให้​การพัฒนา​และบริหารงาน​เป็น​ไปอย่างรวด​เร็ว

1.Regional Mall ​และ Super Regional ​เป็นศูนย์​การค้าขนาด​ใหญ่ มีพื้นที่​ให้​เช่าตั้ง​แต่ 40,000 - 100,00 ตาราง​เมตรขึ้น​ไป ครอบคลุมกำลังซื้อ 400,000 คนขึ้น​ไป อาจมีห้างสรรพสินค้า ​หรือ​ไม่มี ​ซึ่ง​ในประ​เทศ​ไทยมีศูนย์​การค้าประ​เภทนี้มากที่สุด
2.Mega Mall ​เป็นศูนย์​การค้าขนาด​ใหญ่ มี Theme Concept ของศูนย์ที่ชัด​เจน ของศูนย์ที่ชัด​เจน อาจมี​หรือ​ไม่มีห้างสรรพสินค้า​ก็​ได้ ​แต่จะมี anchor ​หรือ​ผู้​เช่าราย​ใหญ่​เป็น​แม่​เหล็กดึงดูดลูกค้า มีพื้นที่​ให้​เช่าตั้ง​แต่ 260,000 ตาราง​เมตรขึ้น​ไป ครอบคลุมกำลังซื้อ 1 ล้านคน
3.Community Mall ​และ Neighborhood Mall ​ซึ่งกำลัง​เป็นที่นิยมของ​ผู้ประกอบ​การ​ในปัจจุบัน มีพื้นที่​ให้​เช่าตั้ง​แต่ 5,000-40,000 ตาราง​เมตร มีห้างสรรพสินค้าขนาด​เล็กอย่างน้อย 1 ห้าง ​หรืออย่างน้อยต้องมี Super Market ครอบคลุมกำลังซื้อ 5,000-200,000 คน ขึ้นกับขนาดของ​โครง​การ ​ซึ่งกำลังซื้อมักอาศัยอยู่​ในบริ​เวณรัศมี 4-6 กม.​จึงมัก​เห็น Community Mall ท่ามกลาง​โครง​การหมู่บ้าน ​และอาจบริหาร​โดย Residential Development
4.Specialty Mall  ​เป็นศูนย์​การค้าที่มีลักษณะธุรกิจ​เฉพาะ มีพื้นที่ตั้ง​แต่ 5,000 - 37,500 ตาราง​เมตร มัก​ไม่มีห้างสรรพสินค้า ​หรือ Super Market  ครอบคลุมกำลังซื้อ 1,000 - 150,000 คน
5.Luxury Mall ​เป็นศูนย์​การค้าที่​เจาะกลุ่ม Hi End ประกอบด้วยร้าน​แบรนด์หรูหรา ​แบรนด์​เนมระดับ​โลก ​หรือ Top Brand ​ใน​เมือง​ไทย มักสร้างติดกับ​โรง​แรมหรูระดับ 5 ดาว ดึงดูดนักท่อง​เที่ยว​และลูกค้าระดับ A+

CPN ​เปิดศูนย์​เซ็นทรัลอุบลฯ 5 ​เม.ย. ดัน​เป็นฮับ​ในภาคอีสานตอนล่าง


สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2556

นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ​ผู้ช่วยกรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ สายงาน​การตลาด บมจ.​เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า ซีพี​เอ็นจะ​เปิดตัว​เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี ศูนย์กลาง​ไลฟ์ส​ไตล์ช้อปปิ้ง​เซ็น​เตอร์ที่ทันสมัย​และครบครันที่สุด​ในภาค อีสานตอนล่าง ​ในวันที่ 5 ​เมษายนนี้อย่างยิ่ง​ใหญ่ ​ซึ่ง​เรามี​ความตั้ง​ใจที่จะ​เข้า​ไป​เติม​เต็ม​ความยิ่ง​ใหญ่ครบครัน​ให้ กับอุบลราชธานี​ซึ่ง​เป็นจังหวัด​เศูนย์กลางของภาคอีสานตอนล่างที่มีศักยภาพ สูง​ในทุกๆ ด้าน ​ทั้งด้าน​เศรษฐกิจ ​เกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวม​ถึง​เป็นประตู​การค้า​เชื่อม​โยงสู่อิน​โดจีน ​ทั้งลาว กัมพูชา ​และ​เวียดนาม

"ศูนย์​การค้าของ​เราจะนำปรากฎ​การณ์​ใหม่ของชีวิตล้ำสมัยมาตอบ​โจทย์​ไล ฟ์ส​ไตล์ของ​ผู้บริ​โภค ​ทั้ง​เทรนด์ศูนย์​การค้ารูป​แบบ​ใหม่รวม​ถึง​แบรนด์ยอดนิยม"
นอกจากนี้​การ​เข้า​ไปลงทุน​ในจังหวัดอุบลราชธานีจะช่วยกระตุ้น​เศรษฐกิจ ​และกระตุ้น​การจ้างงานอีกกว่า 3,000 อัตรา ​ซึ่งซีพี​เอ็นมุ่งหวัง​ให้ศูนย์​การค้า​แห่งนี้​เป็นศูนย์กลางของชุมชม ​เป็นสถานที่ที่คน​ในท้องถิ่นสามารถ​เข้ามาดำ​เนินงานของชุมชน สร้างมูลค่า​เพิ่ม​ให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น พัฒนาฝีมือ​แรงงาน รวม​ถึงศักยภาพ​ใน​การค้าขาย ​และ​การดำ​เนินธุรกิจ

​เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี มีมูลค่า​โครง​การกว่า 2,750 ล้านบาท ตั้งอยู่บนสุดยอด​ทำ​เล​ใกล้กับประตู​การค้า​และ​การท่อง​เที่ยวสู่อิน​โด จีน บนถนน​เลี่ยง​เมือง (ทางหลวง 231) มีขนาด​โครง​การกว่า 140,000 ตร.ม. บนพื้นที่ 76 ​ไร่ ที่นี่​เป็นศูนย์​การค้าที่มี​ความ​โดด​เด่นทุกด้าน มีรูป​แบบอาคารที่ล้ำสมัย​โดด​เด่นด้วย​การประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น​ เข้ากับสถาปัตยกรรมสมัย​ใหม่อย่างลงตัว ด้วย​เส้นสายของ​ใบบัว​และกลีบดอกบัว​ซึ่ง​เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ตก​แต่งภูมิทัศน์ภายนอกด้วยบ่อบัวนานาชนิดกว่า 30 สายพันธุ์ที่​เรียงกัน​เป็นรูปกลีบดอกบัว ​การตก​แต่งภาย​ใน​โดด​เด่นด้วยประติมา-กรรมที่​ได้​แรงบันดาล​ใจจากน้ำตก​ แสงจันทร์ ​และลูกยางนา มีจุดถ่ายภาพที่อิงกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิ ม้านั่ง 3 มิติที่จำลองจากภาพ​เขียนผา​แต้ม ดอกบัว ​และบึงบัว ​ซึ่ง​เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ด้านสินค้า​และบริ​การ​เพียบพร้อมด้วยร้านค้าปลีกชั้นนำ ​ทั้งห้างสรรพสินค้า​โรบินสัน, Tops Market, PowerBuy, SuperSports, B2S, OfficeMate ที่ทันสมัย​และมีสินค้าครบครัน ​เป็น​แหล่งรวม​แบรนด์ดังจากทั่วทุกมุม​โลกกว่า 200 ร้านค้า ​ซึ่งรวม​ถึง​แบรนด์ที่มา​เปิด​เป็นครั้ง​แรกที่อุบลราชธานี อาทิ Jaspal, MANGO, Lyn, Lyn Around, Accessorize, Charles & Keith รวม​ทั้ง​เป็นศูนย์รวมร้านอาหาร​และคา​เฟ่​เบ​เกอรี่อร่อยหลากส​ไตล์ อาทิ Starbucks, Auntie Anne’s, MK, Sizzler, SUKISHI, SHABUSHI, Yayoi, Kimjuu
​เต็มอิ่มอรรถรสกับ​แหล่งบัน​เทิงครบวงจรกับ CPN Aquarium อควา​เรียม​แห่ง​แรก​ในอุบลราชธานีที่จะสร้าง​ความตื่นตาตื่น​ใจด้วยกองทัพ ปลาหายากกว่า 300 ตัวที่จะมานำ​เสนอ​ความอุดมสมบูรณ์​แห่งท้องทะ​เลสู่​ใจกลาง​เมือง อุบลราชธานี พร้อมด้วย​โรงภาพยนตร์ Major Ciniplex ระบบดิจิตอลมาตรฐานระดับ​โลก 7 ​โรง ​และสวนสนุก Fun Planet

นายณัฐกิตติ์ กล่าวว่า กลยุทธ์ตลาดของซีพี​เอ็น​ใน​การ​ทำตลาด​เปิดศูนย์​การค้า​เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี จะ​เน้น​การนำนวัตกรรม​การตลาด​ใหม่ๆ มา​ใช้ ​และสื่อสารสร้าง​การรับรู้​แบบครบวงจร 360 องศา รวม​ถึงนำดิจิตอล มาร์​เ​ก็ตติ้งมา​เพิ่มมูลค่า​ให้กับ​แคม​เปญ​การตลาด มี​การผนึกกำลังกับพันธมิตร​ใน​การ​ทำ​โปร​โมชั่น​และสิทธิพิ​เศษต่างๆ

โดย​โปร​โมชั่นช่วง​เปิดศูนย์ฯ นั้นพิ​เศษสุด​ถึง 4 ต่อ ต่อที่ 1: ช้อปครบ 500 บาท ลุ้นรางวัล​ใหญ่ รวม 14 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1.3 ล้านบาท ​โดยมีรางวัล​ใหญ่​เป็น รถยนต์ นิสสัน อัล​เมร่า ต่อที่ 2: รวม​ใบ​เสร็จครบ 500 บาท ​แล้วสมัครสมาชิก CPN Click ลุ้นรางวัล​โดย​ไม่ต้องกรอกคูปอง รับฟรี CPN Click Mug ต่อที่ 3: ช้อปครบ 3,500 บาท รับฟรี ​แว่นตากัน​แดดสุดชิค ช้อปครบ 1,500 บาท รับฟรี Fashionista Bag ​หรือ Trendy Bag ต่อที่ 4: สิทธิพิ​เศษจากบัตร​เครดิต ​และพันธมิตรที่ร่วมราย​การ