วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Confirmed: Bangkok’s Central Group will open mall in Shah Alam’s i-City


Posted on


By DANIEL KHOO | danielkhoo@thestar.com.my

I-Bhd executive chairman Tan Sri Lim Kim Hong (left) and CPN Global Co Ltd president and CEO Kobchai Chirathivat at the joint venture signing between I-Bhd and CPN of Thailand. I-Bhd and CPN will jointly build a 1.5 million sq ft mall in I-Bhd’s flagship development i-City with a gross development value of RM580mil.

SHAH ALAM: Property developer I-Bhd and Thai mall specialist CPN Global Company Ltd have entered into a joint venture to build a 1.5 million sq ft mall in I-Bhd’s flagship development i-City with a gross development value of RM580mil.
I-Bhd would have a 40% stake via i-City Properties Sdn Bhd (ICP) in the joint venture while CPN would have the remainder stake via two locally incorporated companies – CPN Real Estate Sdn Bhd and CPN Malls Malaysia Sdn Bhd.
Construction for the mall will begin next year and is targeted for completion by the end of 2016.

“We are honoured to spur the economy with this agreement, more so given that this is the first fruits of foreign direct investments for the country after the May 5 general election,” founder and executive chairman of I-Bhd Tan Sri Lim Kim Hong said at the signing ceremony to mark the joint venture yesterday.
“At the end of the day, we envisage our shopping mall being a regional shopping paradise that is capable of boosting both the economic development of Shah Alam and Selangor as a whole,” Lim added.

CPN Real Estate, CPN Malls Malaysia and ICP would also enter into a shareholders agreement for the purpose of acquiring a part of the land in i-City to develop the mall.
The mall would be developed on a freehold plot of land measuring 11.12 acres with gross floor area of about 1.5 million sq ft and net leasable areas of 1 million sq ft.
The development marks CPN’s first foray into Malaysia.

“This important decision marks CPN’s first strategic move in Asean and our confidence in the Malaysian economy,” said CPN president and chief executive officer Kobchai Chirathivat.
CPN, according to a press statement, is the largest specialist developer and manager of large-format and integrated shopping centres established in June 1980 and listed since March 1, 1995 on the Stock Exchange of Thailand.

“We believe ICP’s expertise in construction management as well as local market understanding and strong government relations will greatly contribute to the success of this project. In the same way, CPN will contribute our expertise in retail property development to make this project a great success,” Chirathivat said.

The joint venture would be led by CPN while I-Bhd chief executive officer Datuk Eu Hong Chew said the company’s focus would be on developing the rest of i-City.
“We pass it to the experts as we want to focus on developing the rest of i-City. They will take the lead in design, building and managing the mall,” Eu said.

Meanwhile, I-Bhd posted a huge increase of RM4.92mil in net profit for the first quarter ended March 31 compared to RM819,000 a year ago on revenue which rose by 213.82% to RM27.14mil. It said in an announcement to Bursa Malaysia that the earnings were mainly due to profit recognition from ongoing projects of the property development division and the introduction of more theme park games under the leisure division.

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

 บล.เคจีไอ : CPN แนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐาน ที่ 60.00 บ.
แนวโน้มยังคงสดใส
สรุปประเด็นสำคัญ และข่าวล่าสุด
- คงคำแนะนำซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 60 บาท
- คาดว่าอัตราการเช่าพื้นที่จะสูงกว่า 90% จากการเปิดห้างใหม่ในปีนี้
- มีโครงการที่มีศักยภาพสูงรออยู่อีกหลายโครงการ
- คาดว่าผลประกอบการปี 2556 จะแข็งแกร่ง

คงคำแนะนำซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 60 บาท

ในการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ ผู้บริหารได้เล่าถึงผลประกอบการไตรมาสที่ 1/56 ซึ่งดีกว่าที่คาด โดยได้ชูประเด็นเรื่องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของค่าเช่าพื้นที่ และอัตราการเช่าพื้นที่ซึ่งสูงถึง 96% สำหรับในปีนี้ ผู้บริหารตั้งเป้าที่จะเปิดห้างใหม่อีก 3 แห่งโดยมีอัตราการเช่าพื้นที่เกินกว่า 90% จากการที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นผู้เช่าพื้นที่ โดยในปัจจุบันบริษัทได้ประกาศว่ามีโครงการ 5 โครงการที่อยู่ในแผนงานในขณะที่เราคาดว่าจะมีเพิ่มอีกหนึ่งแห่งในปี 2557 ซึ่งคาดว่าบริษัทจะประกาศในภายหลัง ทั้งนี้ผู้บริหารยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการขยายกิจการซึ่งทางบริษัทจะ เปิดห้างใหม่ 7 แห่งในสามประเทศภายในปี 2563 จากประมาณการในปัจจุบันของเราซึ่งรวมคำนวณห้างที่เปิดใหม่ถึงแค่เพียงปี 2557 เราคาดว่ากำไรของบริษัทในช่วง 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 13% CAGR และเรายังคงประมาณการกำไรปกติปี2556 เอาไว้ที่ 5.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.5% YoY เราคงคำแนะนำซื้อโดยให้ราคาเป้าหมายที่ 60 บาท ซึ่งคำนวณโดยวิธี DCF เอาไว้ที่ 60 บาท

คาดว่าอัตราการเช่าพื้นที่จะสูงกว่า 90% จากการเปิดห้างใหม่ 3 แห่ง ในปีนี้CPN ได้เปิดศูนย์การค้าใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 เมษายน คือเซ็นทรัลพลาซ่าอุบลราชธานี โดยมีอัตราการเช่าพื้นที่ตอนเปิดห้างสูงถึง 91% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 70-80% ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารก็มีความมั่นใจว่าห้างอีกสองแห่งที่จะเปิดในไตรมาสที่ 4/56 ซึ่งได้แก่ เซ็นทรัล เฟสติวัลเชียงใหม่ และเซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่ ก็จะมีอัตราการเช่าพื้นที่อยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งถึงตอนนี้ สัดส่วนยอดจองพื้นที่ต่อจำนวนพื้นที่ปล่อยเช่าทั้งหมดของทั้งสองห้างอยู่ที่ 75% และ 70% ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการตอบรับอย่างดีเยี่ยมของกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นผู้เช่า พื้นที่มีโครงการที่มีศักยภาพสูงรออยู่อีกหลายโครงการ

ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีแผนเปิดห้างใหม่หลายแห่งแล้วในปี 2556 แต่บริษัทก็ยังมีแผนที่จะเปิดเพิ่มอีก 3 โครงการ โดยจะเปิด 2 โครงการในปี 2557 ซึ่งได้แก่เซ็นทรัล เฟสติวัล สมุย ซึ่งมีพื้นที่ปล่อยเช่าทั้งหมด 1.93 หมื่นตารางเมตร โดยมีกำหนดเปิดในไตรมาสที่ 1/57 และเซ็นทรัลพลาซ่า ศาลายา ซึ่งมีพื้นที่ปล่อยเช่าทั้งหมด 3.39 หมื่นตารางเมตร โดยมีกำหนดเปิดในไตรมาสที่ 3/57 และอีกหนึ่งห้างคือเซ็นทรัล เวสต์เกต ซึ่งจะเปิดในไตรมาสที่ 2/58 นอกจากนี้ เรายังคาดว่าบริษัทจะเปิดห้างใหม่อีกหนึ่งแห่งในปี 2557 ซึ่งนาจะอยู่ในกระบวนการวางแผนพัฒนาโครงการอยู่ สำหรับในขณะนี้ โครงการที่แยกลุมพินียังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินการซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภาย ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยสรุปแล้วCPN มีแผนที่จะเปิดห้างใหม่อีก 7 แห่งใน 3 ประเทศภายในปี 2563

ความคืบหน้าของแผนการขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้บริหารได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับ I-City Properties SdnBhd (ICP) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ I-Berhad เพื่อร่วมจัดตั้ง Joint Venture ซึ่งCPN จะถือหุ้น 60% เพื่อพัฒนาโครงการศูนย์การค้าใน Shah Alam city ซึ่งอยู่ในรัฐ Selangor ของประเทศมาเลเซียโดยมีมูลค่าโครงการรวม 5.8 พันล้านบาท โครงการนี้จะพัฒนาอยู่บนที่ดินขนาด 11.12 เอเคอร์ (28 ไร่) โดยมีพื้นที่ปล่อยเช่ารวมทั้งสิ้น 8.97 หมื่นตารางเมตร โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ภายในปี 2557 และจะเปิดให้บริการได้ในปี 2559 นอกจากนี้ผู้บริหารยังได้เปิดเผยว่า CPN อยู่ในระหว่างการเจรจากับพันธมิตรเพื่อร่วมพัฒนาโครงการศูนย์การค้าใน อินโดนีเซีย และ เวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในปีนี้

ความสำเร็จในการเพิ่มทุนจะช่วยสนับสนุนแผนการขยายธุรกิจ

CPN ได้ขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 130.37 ล้านหุ้นโดยวิธี private placementให้กับนักลงทุนต่างประเทศ 60% และอีก 40% ให้กับนักลงทุนสถาบัน ที่ราคา50.75 บาทต่อหุ้น ซึ่งทำให้บริษัทได้เงินรวมแล้ว 6.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ผู้บริหารบอกว่าเม็ดเงินส่วนใหญ่ที่ได้จากการเพิ่มทุนรอบนี้ส่วนใหญ่ จะนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล และ เซ็นทรัลพลาซ่า ศาลายา

คาดว่าผลประกอบการปี 2556 จะแข็งแกร่ง

เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2556 เอาไว้ที่ 5.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น34.5% YoY ทั้งนี้การเปิดห้างใหม่สามแห่งและค่าเช่าพื้นที่ที่ขยับเพิ่มขึ้นน่าจะช่วย ให้รายได้ของ CPN เพิ่มขึ้น 14.7% YoY เป็น 1.92 หมื่นล้านบาท ในขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะเพิ่มขึ้นอีก 50 bps เป็น 44.2% ในปี 2556 จาก 43.7%ในปี 2555 ทั้งนี้ผลประกอบการในไตรมาสที่ 1/56 คิดเป็น 28% ของประมาณการกำไรปกติทั้งปีของเรา และเรามองว่าประมาณการของเรายังคงมี upside อยู่อีกเล็กน้อย แต่เรายังคงประมาณการเดิม โดยรอแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2/56 อีกครั้ง เนื่องจากเป็นไตรมาสนอกฤดูกาลขายของปี
    

นวพร เชื้อเมืองพาน เรียบเรียง

ที่มา: หุ้นอินไซด์


วันที่ : 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Central Pattana With 18% upside to our YE13 target price of Bt63

The Nation
Bualuang Securities May 15, 2013



Overnight placement

Central Pattana Plc (CPN)

What’s new?

Last night, private placements were made for 130.4m new shares and there were big lot sales of 83.4m existing shares (sold by Khunying Suchitra Mongkolkitti and Mrs Sukanya Promphan) to institutional and specific investors at a price of Bt50.75.

More trading liquidity = more value

The private placements of 130.4m shares (2.9% of paid-up capital) were expected, but the 83.4m shares (1.9% of paid-up capital) sold by two members of Chirathivat family surprised us. The sales by major shareholders might generate negative sentiment toward the stock in the short term, but they will also mean greater trading liquidity, which will ease liquidity risk and WACC.

Enhancing the growth profile

The share dilution of 2.9% is minimal. The proceeds of Bt6.6bn from the cash call should enable CPN to speed up its expansion. We expect the firm to soon announce new projects in addition to those (3-4 malls a year) under its current CAPEX plan, which would enhance its long-term growth profile further. As such, EPS dilution should be only a short-term phenomenon.

Spin-off gain still underway

Although net gearing has fallen to only 0.44x, the plan to spin off the Chiangmai and Ramindra properties to CPNRF remains in place (albeit delayed somewhat to late 3Q13 or early 4Q13). CPN still needs to monetize assets in order to finance huge CAPEX plans of Bt14-15bn/year in FY13-14 and around Bt10bn in FY15 (excluding the additional projects). We estimate a spin-off gain of about Bt3.8bn, to be booked in either 3Q13 or 4Q13.

BUY rating stands

With the private placements completed, we don’t see any obvious negative events that would put downward pressure on the share price within the next 12 months. Indeed, we expect positive new flows/events to prompt earnings forecast and valuation upgrades, such as new project announcements and spin-off gains. As such, if the share price were to decline to a level near the placement price, we think it would present a great opportunity to take or increase positions. With 18% upside to our YE13 target price of Bt63, our BUY rating stands.

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

i-City Mall Malaysia open 2016




I-Berhad signs MoU with Thai retail developer to set up i-City Mall



CPN ร่วมทุน I-BERHAD ผุดมอลล์ยักษ์ในมาเลเซีย



ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 พฤษภาคม 2556
 “ซีพีเอ็น” จ่อร่วมทุน I-BERHAD ยักษ์ใหญ่อสังหาฯ แดนเสือเหลือง พัฒนารีจินัลมอลล์ในรัฐสลังงอร์ มาเลเซีย มูลค่า 5.8 พันล้านบาท คาดเปิดบริการปี 2559 หวังใช้เป็นก้าวแรกทะยานสู่อาเซียน
      
       นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น (CPN) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมาในหนังสือแสดงความประสงค์เพื่อจะเข้าทำสัญญาร่วมทุนกับ I-City Properties Sdn Bhd หรือ ICP ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ I-Berhad ยักษ์ใหญ่ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมาเลเซีย โดยในการร่วมทุนที่จะเกิดขึ้น ICP จะถือหุ้นในสัดส่วน 40% และ CPN โดยบริษัทย่อยที่จะได้จัดตั้งขึ้นในประเทศมาเลเซียจะถือหุ้นในสัดส่วน 60% เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าแห่งแรกของซีพีเอ็นในมาเลเซียในรูปแบบรีจินัลมอลล์ มูลค่า 580 ล้านริงกิต หรือประมาณ 5,800 ล้านบาท ในโครงการ i-City ซึ่งเป็น Malaysia Cybercenter (MSC) เมืองเทคโนโลยีแห่งใหม่ของมาเลเซียในเขต 7 ของเมืองชาห์อลัม รัฐสลังงอร์
      
       ครั้งนี้นับเป็นครั้งสำคัญของ CPN กับก้าวแรกในการนำพาธุรกิจของเราไปสู่อาเซียน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เราบรรลุวิสัยทัศน์องค์กรในการก้าวไปเป็น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกระดับภูมิภาค เรามีความมั่นใจในเศรษฐกิจของมาเลเซีย และเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในประเทศนี้ที่กำลังเติบโตและมีความแข็งแกร่งใน ทุกด้าน โดยเฉพาะเมืองชาห์อลัม เมืองหลวงของรัฐสลังงอร์ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 600,000 คน และมีการเติบโตของกลุ่มคนชั้นกลางอย่างรวดเร็ว เราเชื่อมั่นว่าการบริหารโครงการก่อสร้างภายใต้ความเชี่ยวชาญ รวมถึงความเข้าใจตลาด และความสัมพันธ์อันดีกับภาครัฐของ ICP รวมถึงความเชี่ยวชาญของ CPN ที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกด้วยความเป็นผู้ นำของธุรกิจนี้ในประเทศไทยและมีศูนย์การค้าภายใต้การบริหารปัจจุบันรวม 21 แห่งทั่วประเทศ จะช่วยให้การพัฒนาศูนย์การค้าแห่งใหม่นี้ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
      
       การลงทุนพัฒนาศูนย์การค้าในรูปแบบรีจินัลมอลล์มูลค่าประมาณ 5,800 ล้านบาทในเมืองชาห์อลัม เมืองหลวงของรัฐสลังงอร์ มาเลเซีย เป็นการพัฒนาศูนย์การค้าบนที่ดินฟรีโฮลด์ขนาดกว่า 28 ไร่ มีพื้นที่โครงการทั้งหมด (GFA) ประมาณ 138,000 ตารางเมตร และมีพื้นที่ขาย (NLA) ประมาณ 89,700 ตารางเมตร โดย CPN จะควบคุมการออกแบบ พัฒนาศูนย์การค้า และบริหารศูนย์การค้าแห่งนี้ในฐานะบริษัทบริหารศูนย์การค้า ซึ่งที่นี่จะเป็นศูนย์กลางของไลฟ์สไตล์ทันสมัย ทั้งการชอปปิ้ง บันเทิง และเป็นศูนย์กลางการพบปะของชุมชนในเขตตะวันตกของรัฐสลังงอร์ การก่อสร้างศูนย์การค้าแห่งนี้คาดว่าจะเริ่มในปี 2557 และจะเปิดให้บริการในปี 2559
      
       สำหรับซีพีเอ็นเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย และเป็นบริษัทผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกของประเทศที่ มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานในประเทศไทย ปัจจุบันบริหารศูนย์การค้าทั้งหมด 21 แห่ง อาคารสำนักงาน 7 แห่ง โรงแรม 2 แห่ง และอาคารที่พักอาศัย 2 แห่ง
      
       ส่วน ICP เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในเครือของ I-Berhad ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ของมาเลเซีย ICP เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซา มาเลเซีย และเป็นผู้พัฒนาโครงการ i-City ซึ่งเป็นเมืองเทคโนโลยีแห่งใหม่ของมาเลเซียบนที่ดินฟรีโฮลด์พื้นที่ประมาณ 182 ไร่ ตั้งอยู่บนทางหลวงหลักของเมือง ซึ่งโครงการนี้ประกอบด้วยศูนย์การค้า อาคารสำนักงานไซเบอร์เซ็นเตอร์ สำนักงานของบริษัทชั้นนำ โรงแรม อาคารที่พักอาศัย และพื้นที่ค้าปลี

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

CPN ปี 2556-2560 มีเป้าหมายที่จะสร้างศูนย์การค้าทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศเพิ่มอีก 12 แห่ง ลงทุนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท

เซ็นทรัลพัฒนาฯ อสังหาฯ ตระกูลจิราธิวัฒน์

การเติบโตในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกอย่างเซ็นทรัล ของตระกูลจิราธิวัฒน์ ทำให้นอกจากการพัฒนาที่ดินสำหรับก่อสร้างห้างสรรพสินค้าแล้ว ตระกูลจิราธิวัฒน์ โดยจัดโครงสร้างธุรกิจในช่วงปี 2535

แยกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกมาจากธุรกิจค้าปลีกโดยตั้งบริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) เข้ามาดูแลการพัฒนาที่ดินเพื่อก่อสร้างศูนย์การค้าให้กับกลุ่มในขณะที่ บริษัท ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ดูแลเฉพาะการลงทุนในส่วนของห้างสรรพสินค้าภายใต้แบรนด์เซ็นทรัล

นอกจากการพัฒนาศูนย์การค้าเพื่อให้เช่าแล้ว บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) ยังพัฒนาส่วนของอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย และโรงแรม ในเครือเซ็นทรัลทั้งหมด ภายใต้การบริหารงานของทายาทรุ่นที่3 ของตระกูล กอบชัย จิราธิวัฒน์ ที่เข้ามารับผิดชอบการบริหารหลังปี 2540

หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 กลุ่มเซ็นทรัล ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารกิจการของกลุ่มอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้า ที่ดูแลในเรื่องของการบริหารจัดการห้างสรรพสินค้าของในเครือทั้งหมดที่มีทั้ง เซ็นทรัล โรบินสัน เซน กลุ่มโรงแรม ที่มีหน้าที่ในการบริหารกิจการธุรกิจโรงแรม และรับในการบริหารโรงแรมภายใต้ชื่อเซ็นทารา กลุ่มธุรกิจการค้าที่รับผิดชอบในการนำเข้าสินค้าแบรนด์ต่างๆ และร้านอาหารเข้ามาในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าที่รับผิดชอบโดย บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CRC) และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่รับผิดชอบในการก่อสร้างศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน และที่อยู่อาศัย

การจัดโครงสร้างกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายธุรกิจของกลุ่ม โดยเฉพาะส่วนของพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ทำให้ กลุ่มเซ็นทรัล มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากปี 2549 ที่เดิมมีศูนย์การค้าเซ็นทรัล เพียง 9 แห่งในปี 2540 กับพื้นที่ค้าปลีกประมาณ 500,000 ตารางเมตร เป็น 22 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด กับพื้นที่ค้าปลีกมากกว่า 3,252,200 ตารางเมตรในปี 2555

และในปี 2556-2560 บริษัทมีเป้าหมายที่จะสร้างศูนย์การค้าทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศเพิ่มอีก 12 แห่งมูลค่าเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท การขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างธุรกิจ แยกส่วนของอสังหาริมทรัพย์ออกมาต่างหาก ทำให้บริษัท สามารถที่จะระดมทุนได้ด้วยตัวเอง นับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 1 มีนาคม 2538 เป็นต้นมา นอกจากการระดมทุนในรูปของหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว บริษัทยังนำเอาศูนย์การค้าแต่ละแห่งที่สร้างขึ้นมาและมีรายได้จากการเช่า มาจัดตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นแหล่งทุนสำคัญที่รองรับกับการเติบโตของบริษัท โดยที่คงสัดส่วนหนี้ต่อทุนของบริษัทให้ไม่เกินอัตรา 2:1 โดยมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนอยู่ที่ 1.75:1 ณ สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2555

หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา กลุ่มเซ็นทรัล เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจค้าปลีก ด้วยแนวความคิดในการแยกการบริหารระหว่างส่วนที่การพัฒนาที่ดินออกจากการบริหารห้างสรรพสินค้า โดยให้แต่ละกลุ่มธุรกิจมีอิสระในการบริหารงานเป็นของตัวเอง ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มที่ต้องการจะขยายเครือข่ายและสาขาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย และขยายเครือข่ายออกไปในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการประหยัดจากขนาด (economy of scale) และนำเอาเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับบริษัทเพื่อใช้ในการขยายงาน แทนการกู้เงินจากสถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอารายได้ในอนาคตจากรายได้จากการเช่าพื้นที่ค้าปลีกของศูนย์การค้าแต่ละแห่งมาจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทำให้สามารถระดมทุนผ่านการออกหน่วยลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการขยายงาน

นอกเหนือจากการก่อสร้างศูนย์การค้าแล้ว บริษัทยังให้มุ่งพัฒนาโครงการที่สร้างรายได้จากการเช่าอย่างอาคารสำนักงาน รวมถึงบางทำเลยังพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียม เพื่อขายในพื้นที่ที่มีศักยภาพอาทิ ทำเลย่านบางนา และล่าสุดคือโครงการที่บางใหญ่ บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ก็นำมาพัฒนาทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน และคอนโดมิเนียม ซึ่งการพัฒนาพื้นที่แต่ละแห่ง กอบชัย เคยให้สัมภาษณ์ว่า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทไหนในแต่ละทำเลขึ้นอยู่กับโอกาสมากกว่า โดยเป้าหมายหลักของบริษัทคือการพัฒนาศูนย์การค้า แต่ถ้าทำเลมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นอาคารสำนักงาน โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย ก็จะพัฒนาไปตามความเหมาะสม โดยมีเป้าหมายให้บริษัทมีอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี จากรายได้รวม 2.0125 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 6.188 พันล้านบาท ในปี 2555

ความสำเร็จในการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เป็นผลมาจากการนำเอาบทเรียนจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มาใช้ในการบริหารงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารหนี้และทุน ด้วยการนำเอาเครื่องมือทางการเงินที่ใช้รายได้ในอนาคตมาขยายกิจการผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อลดต้นทุนดอกเบี้ยและความเสี่ยงทางการเงิน มาบริหารจัดการให้บริษัทสามารถต่อยอดเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและกลับมาเป็นผู้นำในตลาดค้าปลีกแซงหน้าคู่แข่งที่อยู่ในตลาดปัจจุบัน