วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทความดีๆ ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

กฎของชีวิต The Rules of Life แต่เปลี่ยนมาเป็น กฎของการลงทุน

 

ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง  กฎของชีวิต The Rules of Life) เขียนโดย Richard Templar แล้วก็นึกไปถึงเรื่องของการลงทุน  เพราะกฎหลาย ๆ  ข้อนั้น   ผมคิดว่ามันนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้เป็นอย่างดี  ลองมาดูกันทีละข้อ
          ข้อแรก ที่ผมคิดว่านักลงทุนควรนำมาใช้ก็คือ  รู้ว่าอะไรสำคัญและอะไรไม่สำคัญ   ผมคงไม่พูดในเรื่องอื่น ๆ  ของชีวิต  แต่ในเรื่องของการลงทุนแล้ว  นี่คือสิ่งที่จะทำให้เราชนะหรือแพ้ได้  ยกตัวอย่างเช่น  เราคิดว่าการอยู่รอดของเศรษฐกิจกรีซนั้นสำคัญต่อการทำกำไรหรือผลประกอบการระยะยาวของบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุนอยู่ไหม?  ถ้าเราคิดว่าไม่  ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปกังวลว่ากรีซจะแก้ปัญหาของตนเองได้หรือไม่  ในความเป็นจริง  สิ่งที่สำคัญในเรื่องของการลงทุน  ก็เช่นเดียวกับในเรื่องของชีวิต  คือมันมีอยู่ไม่มาก  และเราก็ควรจะต้องรู้  อย่าสนใจหรือทุ่มเทกับสิ่งที่ไม่สำคัญมากนัก
            ข้อสอง   ถ้าคุณจะกระโดดลงคลอง  ก็ขอให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าน้ำนั้นลึกเท่าไร  นี่ก็เป็นเรื่องของการรู้ว่าความเสี่ยงของชีวิตและในกรณีของเราก็คือ  การลงทุน  เป็นอย่างไร  ตัวอย่างเช่น  ถ้าเราซื้อหุ้นตัวเดียวด้วยเงินทั้งหมดและใช้มาร์จินด้วยโดยที่เราคิดว่าหุ้นตัวนั้นดีเยี่ยมและถูกมากและมันจะทำให้เรารวยไปเลย  เราก็อาจจะพลาดและเกิดหายนะได้  ดังนั้น  ในการลงทุนทุกครั้งและตลอดเวลา  เราจะต้องรู้ว่า  น้ำนั้น  ลึกแค่ไหน  ประเด็นก็คือ  เราจะเสี่ยงอะไรก็ตาม  ตรวจสอบและวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนที่สุด  ดูว่าถ้าพลาดร้ายแรง  เราจะยังอยู่รอดได้และไม่เสียหายมากเกินไป
            ข้อสาม  ซึ่งผมจะรวมกฎสามข้อเข้าด้วยกันก็คือ  มีระบบความเชื่อของตนเอง    มีความมั่นคงและยึดมั่นในสิ่งที่ทำ  และ  มีศรัทธาต่อสิ่งนั้น นี่คือกฎที่จะทำให้เราไม่วอกแวก   และความคิดและการกระทำของเราจะเป็นระบบที่ถูกต้องและสอดคล้องกันในระยะยาว  แต่สิ่งที่ผมอยากจะกล่าวเพิ่มเติมก็คือ  ระบบความเชื่อของเรานั้นจะต้องเป็นระบบที่ถูกต้องที่มีการพิสูจน์มาช้านาน  ตัวอย่างเช่น  ถ้าเรามีความเชื่อว่าการลงทุนในหุ้นนั้น  ก็คือการเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของธุรกิจ  วิธีที่จะชนะในระยะยาวก็คือ  การถือหุ้นหรือบริษัทที่ดีเยี่ยมในราคาที่ยุติธรรมให้ยาวที่สุด  เราก็จะต้องเชื่อและทำแบบนั้น  อย่า กลับไปกลับมาโดยการขายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดสถานการณ์บางอย่างที่เราอาจจะ กลัวเกินเหตุหรือคิดว่าราคาหุ้นอาจจะสูงเกินไปแล้วชั่วคราว
             บางคนอาจจะสงสัยว่า  ระบบที่ถูกต้อง  ที่ผมพูดถึงในข้อสามนั้น  มีเพียงระบบเดียวหรือ?  และใครจะเป็นคนบอกว่าระบบความคิดไหนเป็นระบบที่ดีและถูกต้องที่สุด  คำตอบของผมก็คือ  คงไม่มีใครบอกได้  มีระบบมากมายที่มีคนคิดและเสนอขึ้นมา  เราเองจะต้องเป็นคนเลือกที่จะเชื่อ  บางคนอาจจะบอกว่าวิธีการลงทุนที่จะได้ผลตอบแทนสูงที่สุดก็คือการซื้อหุ้นในยามที่มันมีราคาถูกและขายเมื่อมันมีราคายุติธรรมหรือแพงแล้ว  การคิดถึงหุ้นเราไม่ควรคิดว่าเราเป็นเจ้าของธุรกิจเพราะเราไม่ได้มีอำนาจอะไรเลยในการควบคุมกิจการ  นี่ก็เป็นระบบความเชื่ออีกแบบหนึ่งซึ่งผมก็บอกไม่ได้ว่าดีกว่าแบบแรกหรือไม่  บางทีมันอาจจะดีกว่าในบางตลาดหุ้นและแย่กว่าในบางแห่ง  ประเด็นของผมก็คือ  ถ้าคุณเชื่อแบบไหน  คุณก็ควรจะทำแบบสม่ำเสมอและสอดคล้องกันทุกอย่าง- ด้วยความศรัทธา   อย่างเริ่มต้นซื้อหุ้นด้วยความคิดหนึ่งแต่ขายหุ้นด้วยความคิดอีกชุดหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกันข้าม
             ข้อสี่  อยู่ข้างเทพ  อย่าอยู่ข้างมาร  นี่ก็เป็นกฎที่น่าจะมีคำถามตามมาว่า  ข้างไหนคือเทพและข้างไหนคือมาร?  คำตอบก็คือ  เราก็ต้องเป็นคนที่คิดและเลือก  ว่าที่จริง  คงไม่มีใครเลือกที่จะเป็นมารหรืออยู่ข้างมาร  เขาคิดว่าฝั่งที่เขาเลือกคือเทพ  สำหรับผมแล้ว  ผมคิดว่านักลงทุนนั้นจะต้องเลือกข้าง  ผู้ชนะ  ซึ่งก็คือ  ข้างเทพ  เพราะผู้ชนะนั้นจะเป็นคน  เขียนประวัติศาสตร์  และแน่นอน  เขาจะต้องเขียนว่าเขาเป็นฝ่ายเทพ  ความหมายของผมก็คือ  ในการลงทุน  เราควรเลือกบริษัทที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงของการเติบโต  เป็นธุรกิจที่กำลังมี  กระแส  หรือมี  ลมพัดมาทางข้างหลัง  เป็นอุตสาหกรรม เทพ  นอกจากนั้น  เราควรเลือกบริษัทที่กำลังเป็น  ผู้ชนะ  เป็นบริษัท เทพ   วิธีที่เราจะเลือกได้ถูกต้องนั้น  นอกจากการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง  ซึ่งบ่อยครั้งจะต้องมองไปถึง  กระแสระดับโลก  ที่อาจจะมาก่อนแล้ว    เรายังต้องพยายามตัดอคติและความรู้สึกส่วนตัวที่มีออกให้มากที่สุด  เพราะนั่นมักทำให้เรามีความลำเอียงจนทำให้วิเคราะห์ผิดไปได้
             ข้อห้า  คุณจะไม่มีวันเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้  ว่าที่จริงผมคิดว่าคนเราอาจจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งเฉพาะในบางเรื่องเท่านั้น  เรื่องส่วนใหญ่นั้นเราไม่ค่อยจะเข้าใจหรอกแต่เราอาจจะคิดว่าเราเข้าใจ  กฎข้อนี้เพื่อที่จะเตือนใจเราให้รู้ว่ายังมีเรื่องที่เราไม่เข้าใจอีกมาก  และถ้าเราไม่เข้าใจแต่เราตัดสินใจลงทุน  เราก็อาจจะพบกับความผิดหวังได้ง่าย ๆ  วิธีการของผมก็คือ  ถ้าเรายังไม่ค่อยจะเข้าใจหุ้นตัวไหน  ก็อย่าไปลงทุนหรืออย่าลงทุนมาก  ถ้าเราลงทุนก็จะต้องรู้ว่ามันคือการ  เก็งกำไร  และโอกาสเสียก็มีไม่น้อย   โดยส่วนตัวผมแล้ว  ผมจะพยายามทำความเข้าใจในเรื่องของโลกในวงกว้าง  ทั้งเรื่องการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  วิทยาศาสตร์  ปรัชญา  และอื่น ๆ  อีกร้อยแปด  ผมพยายามที่จะเข้าใจ  ภาพใหญ่  ของสิ่งเหล่านี้  ในขณะที่ถ้าเป็นเรื่องที่ผมสนใจเป็นพิเศษ  เช่น  การลงทุน  ผมก็จะพยายามศึกษาให้มากเพื่อที่จะได้  รู้จริง  โชคดีที่ว่า  ในการลงทุนนั้น   การมีความรู้ในเรื่องของโลกอย่างกว้าง  สามารถที่จะช่วยทำให้การลงทุนดีขึ้นมาก
           ข้อหก  รักษาคุณธรรมและจริยธรรมให้สูงเข้าไว้  นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตเช่นเดียวกับการลงทุน   เป็นเรื่องธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงคนจะต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด  บางครั้งก็เกิดการ  แย่งชิง  ทรัพยากรกัน   การที่เราจะมีชีวิตที่ดีได้  เราต้องยึดถือคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีตลอดเวลาเพราะนี่คือ  กติกา  ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและยกย่อง  ถ้าเราทำผิดเราจะไม่ได้รับความเชื่อถือไปนานหรือตลอดไป   และนั่นจะทำให้ชีวิตในอนาคตของเราตกต่ำลงและยากที่จะแก้ไขได้  ในเรื่องของการลงทุนนั้น  ก็เช่นเดียวกัน  อย่าใช้วิธีการที่ไม่มีคุณธรรมในการลงทุนหรือเล่นหุ้นแม้ว่ามันจะทำให้เราได้กำไรเร็วและมาก  อะไรคือคุณธรรมในการลงทุนนี่ก็เป็นประเด็นอยู่เหมือนกัน  แน่นอน  การทำผิดกฎหมายไม่ว่าจะถูกจับได้หรือไม่ก็ต้องถือว่าไม่มีคุณธรรมแน่นอน  แต่การกระทำอย่างอื่นที่ทำให้นักลงทุนคนอื่นเสียหายโดยที่เราได้ประโยชน์   ตัวอย่างเช่น  เราแนะนำให้เขาซื้อหุ้นตัวหนึ่งแต่ในเวลาเดียวกันเราขาย  แล้วหลังจากนั้นราคาหุ้นก็ตกต่ำลงมามากเนื่องจากข้อมูลที่เรารู้อยู่ก่อนแล้ว   แบบนี้ก็อาจจะถือว่าเราไม่ได้มีคุณธรรมที่สูงพอ  แม้จะยอมรับกันว่า  ในเรื่องของการลงทุน  ทุกคนต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง
           สุดท้าย   สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนจนทำให้มีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตแบบเศรษฐี  หรือแม้แต่คนที่มุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็วจากการลงทุนก็คือ  รู้ว่าความสุขที่แท้จริงมาจากไหน  เรื่องนี้ผมขอตอบเองว่า   เงินนั้นก่อให้เกิดความสุขได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น  เงินที่มากขึ้นจากนั้นจะสร้างความสุขเพิ่มขึ้นได้น้อยลงและน้อยลงเรื่อย ๆ   ดังนั้น  การมุ่งที่จะหาความสุขจากเงินมากเกินไปรังแต่จะก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาแทน  เพราะความสุขที่แท้จริงนั้น  ผมว่าอยู่ในใจเสียมากกว่า 
     
Posted by nivate


วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

CPN

กำลังใจของคนที่มีหุ้น CPN เก็บไว้


วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

CPN ผลประกอบการ 1/55 แบบสวยๆ

ประมาณการณ์ทั้งปี 4,000 ล้าน โต 100% ปี 2554 ราคาควรเป็นเท่าไหร่เนี่ย ( ปี 54 ประมาณ 40 บาท )

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

MAJOR อีกหนึ่งความมั่นใจ

 อีกหนึ่งความมั่นใจ ราคา 20 บาทในอนาคตอันใกล้


ธุรกิจเกี่ยวกับความบันเทิง โรงหนัง  จะยังคงเติบโตและได้รับความสนใจอยู่ตลอดเวลา ราคาเป้าหมายปี 55 แบบชิวๆ 20 บาท
ถ้าการเมืองไม่วุ่นวายนะ แต่จะวุ่นวายยังไง คนก็ไปดูหนังอยู่ดี 555
 
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ (อังกฤษ: Major Cineplex) คือ ผู้ให้บริการโรงภาพยนตร์ในระบบมัลติเพล็กซ์ (Multiplex) ในประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกที่สาขาปิ่นเกล้า โดยสร้างเป็นอาคารโรงภาพยนตร์และศูนย์การค้าครบวงจร ในรูปแบบ Stand Alone แห่งแรกในประเทศไทย


ปัจจุบัน เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป เปิดให้บริการรวม 5 แบรนด์ 53 สาขา 397 โรง ได้แก่ 
  1. Paragon Cineplex - 1 สาขา 16 โรง 4,500 ที่นั่ง
  2. Esplanade Cineplex - 2 สาขา 28 โรง 6,900 ที่นั่ง
  3. Paradise Cineplex - 1 สาขา 8 โรง 1,000 ที่นั่ง
  4. Mega Cineplex - 1 สาขา 16 โรง
  5. Major Cineplex - 43 สาขา 292 โรง
  6. EGV - 6 สาขา 43 โรง 9,900 ที่นั่ง
นอกจากนี้ยังมีลานโบว์ลิ่งอีก 26 สาขา 480 เลน คาราโอเกะ 410 ห้อง และ ไอซ์สเก็ต 2 สาขา อันได้แก่
  1. Major Bowl Hit - 20 สาขา 316 เลนโบว์ลิ่ง 313 ห้องคาราโอเกะ
  2. Blu–O Rhythm & Bowl - 6 สาขา 164 เลนโบว์ลิ่ง 97 ห้องคาราโอเกะ
  3. Sub-Zero Ice Skate - 2 สาขา

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555


CPN
เซ็นทรัลพัฒนา  วางแผนเปิดห้าง จาก 18 เป็น 30 แห่งในอีก 5 ปี หากมองอนาคต ราคาเพิ่มเท่าตัวเป็นสิ่งที่เป็นไปได้แน่นอน 

: ซื้อไว้ตั้งแต่ก่อน Central World ถูกเผา ตั้งใจเก็บไว้นาน ปี 2558 ราคา เป้าหมาย  100 บาท
การใช้ชีวิตแบบคนเมือง เดินเล่นในศูนย์การค้า กินอาหารตามร้าน และซื้อของในร้านตามห้าง เป็นสิ่งที่ คนทั่วไปยังชอบทำ ทำให้ CPN ยังเป็นแหล่งพักผ่อนของคนเมืองได้ดี

   อัตราการเช่าพื้นที่ของ CPN

1. บริหารศูนย์การค้า ในปี 2554 CPN มีโครงการศูนย์การค้าทั้งสิ้น 18 โครงการ โดยเรียงตามลำดับการเปิดดำเนินการ ดังนี้
  1. เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เปิด ธ.ค. 2526 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 55,583 ตรม.)
  2. เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา เปิด พ.ย. 2536 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 17,160 ตรม.)
  3. เซ็นทรัลพลาซา บางนา เปิด ธ.ค. 2536 (เป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์เมื่อปี 2544) (พื้นที่เช่าทั้งหมด 55,738 ตรม.)
  4. เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เปิด มี.ค. 2538 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 60,562 ตรม. เป็นของ CPN 36,854 ตรม. เป็นของ CPNRF 23,708 ตรม.)
  5. เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา เปิด ก.ค. 2538 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 15,226 ตรม.)
  6. เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เปิด มี.ค. 2539 (ซื้อต่อจากโครงการตันตราภัณฑ์ เชียงใหม่) (พื้นที่เช่าทั้งหมด 75,968 ตรม.)
  7. เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เปิด ต.ค. 2540 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 58,359 ตรม. เป็นของ CPN 18,192 ตรม. เป็นของ CPNRF 40,167 ตรม.)
  8. เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 เปิด ธ.ค. 2545 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 99,537 ตรม. เป็นของ CPN 5,937 ตรม. เป็นของ CPNRF 93,600 ตรม.)
  9. เซ็นทรัลเวิลด์ เปิด ธ.ค. 2545 (เช่าต่อจากโครงการ World Trade Center) (พื้นที่เช่าทั้งหมด 187,046 ตรม.)
  10. เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ เปิด ธ.ค. 2546 (ซื้อต่อจากโครงการ Jusco รัตนาธิเบศร์) (พื้นที่เช่าทั้งหมด 77,008 ตรม.)
  11. เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เปิด พ.ย. 2551 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 65,478 ตรม.)
  12. เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช เปิด ม.ค. 2552 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 57,993 ตรม.)
  13. เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี เปิด เม.ย. 2552 (ซื้อต่อจากโครงการเจริญศรีคอมเพล็กซ์) (พื้นที่เช่าทั้งหมด 40,223 ตรม.[รวมโรบินสัน] กำลังอยู่ในช่วงการ Renovate และก่อสร้าง Phase 2 กำหนดแล้วเสร็จไตรมาส 1/2555)
  14. เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี เปิด พ.ค. 2552 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 39,762 ตรม.)
  15. เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น เปิด 3 ธ.ค. 2552 (พื้นที่เช่าทั้งหมด 49,848 ตรม.)
  16. เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย เปิด 30 มี.ค. 2554 (พื้นที่เช่าทั้งหมดประมาณ 23,000 ตรม.)
  17. เซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก เปิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (พื้นที่เช่าทั้งหมดประมาณ 28,500 ตรม.)
  18. เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 เปิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (เช่าเหมาอาคารศูนย์การค้าจาก แกรนด์ คาแนล แลนด์) (พื้นที่ทั้งหมด 210,000 ตรม. [รวมโรบินสัน])

  1.